การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปการปฏิบัติใน พื้นที่ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อรรถสิทธิ์ วารีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แรงงานต่างด้าว, การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ, พื้นที่ภาคใต้

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาพัฒนาการนโยบายแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551-ปัจจุบัน 2) ศึกษาการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ 3) ศึกษาผลสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 4) เสนอแนวทางในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในพื้นที่ภาคใต้ ระเบียบวิธีวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวแบบการศึกษาได้พัฒนาขึ้นจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม (1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย (2) กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ และ (3) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งสิ้น 12 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการนโยบายการงานต่างด้าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน พบว่ารัฐบาลทุกสมัยให้ความสำคัญกับนโยบายของประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า ด้านปัจจัยได้แก่ ด้านความชัดเจนของนโยบาย ด้านความพร้อมและความเพียงพอของทรัพยากร ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านลักษณะองค์กร การสื่อสารระหว่างองค์การ พบว่า ประเด็นปัจจัยดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน 3) ผลสำเร็จในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ พบว่า มีฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวที่เป็นเอกภาพ การบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดรูปแบบองค์กร/กลไกในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก บรรลุเป้าประสงค์ของนโยบาย และ 4) การเสนอแนวทางในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าว ด้านนโยบายรัฐจะต้องกำหนดทางเลือกของนโยบายที่สะท้อนจากสภาพปัญหาที่แท้จริง ด้านจัดโครงสร้างองค์กร และกำหนดหน่วยงาน จำเป็นจะต้องร่วมบูรณาการทุกภาคส่วนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาสังคม และด้านการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการซักซ้อมความเข้าใจระหว่างหน่วยงานนำนโยบายไปปฏิบัติกับผู้มีส่วนได้เสียก่อนนำสภาพการบังคับใช้กฎหมายมาใช้จริง

References

กระทรวงแรงงาน. (2560). นโยบายเน้นหนัก ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
กรุงเทพธุรกิจ. (2558). การประมงผิดกฎหมาย: ผลกระทบและทางออกสำหรับไทย? ค้นเมื่อ 8 มกราคม
2562 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634527
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554). วิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และรีนา ต๊ะดี. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558,นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฏฐ์ธยาน์ จารียานุกูล. (2557). การนำนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีจังหวัดเชียงใหม่. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง
สาโรจน์ คมคาย. (2553). วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง.วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สาโรจน์ คมคาย และ ธีระ ศรีธรรมรักษ์. (2555). วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการจัดระบบแรงงาน ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561 จาก http://www.research.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2012/05/วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง.pdf
สำนักบริหารงานแรงงานต่างด้าว. (2560). สถิติการทำงานของคนต่างด้าวประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2562, จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/94ec1760f83293298787bf9d0fd3496a.pdf
สัณห์สิตา โล่สถาพรพิพิธ. (2552). การสื่อสารเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ตกเป็นเหยื่อจากกระบวนการค้ามนุษย์.วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bardach, E. (1980). A Practical Guide for Policy Analysis: The Eightfold Path ot more Effective Problem Solving,2nd ed. Washington D.C.: CQ Press.
Majone, G. & Wildavsky, A. (1978). Implementation as evolution. Policy Studies Review Annual Vol. 2.
Shabbir G. S. & Rondinelli, D. A. (1983). Decentralization and Development Policy: implementation in developing countries. SAGE Publications.
Van Horn, C. E. & Van Meter, D. S. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society. 6 (4), 400-467.
Williams, W. (1971). Social Policy Research and Analysis: The Experience in The Federal Social Agencies. New York: American Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27