ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ ของข้าราชการในหน่วยงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ อินตรา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การจัดการความรู้, ข้าราชการ, สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการความรู้ของข้าราชการในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการความรู้ของข้าราชการในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ข้าราชการในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 209 นาย โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด สถิติในการวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการความรู้ของข้าราชการในหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวัฒนธรรมองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการศึกษาและอบรม ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร  และด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน จากสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าความคิดเห็นของข้าราชการของปัจจัยที่อิทธิพลต่อการจัดการความรู้ทั้ง 4 ข้อ เปรียบเทียบกับพฤติกรรมการจัดการความรู้นั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประเภทของตำแหน่ง และอายุการทำงานนั้นต่างกันความคิดเห็นต่อการจัดการความรู้แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

กุลธิดา อ่อนมี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ตามทัศนะของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณัฏฐนันท์ พุทธวงศ์. (2553). การจัดการความรู้ในองค์กรของบุคลากรกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: กรณีศึกษาหน่วยงานส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันทะ บุตรน้อย. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญดี บุญญากิจ, นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย, ดัสพงศ์ พรชนกนาถ และปรียาวรรณ กรรณล้วน. (2548). การจัดการความรู้...จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส.
พัชราภา ดินดำ. (2550). การมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการกำหนดนโยบายการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ศึกษากรณีอุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ สังกัดสำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
วันวิสาข์ คงทน (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรฝ่ายสารสนเทศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิจารณ์ พานิช. (2547). สถานศึกษากับการจัดการความรู้เพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2548). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2562 จาก
http://www.ops.moc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3930
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ(2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2562 จาก http://www.afaps.ac.th/kmcorner/km58/km_web/KMplanmanual.pdf
Holsapple, C. W. & Joshi, K. D. (2002). Knowledge Management: A Threefold Framework. The Information Society, 18(1), 47-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27