บทบาทรัฐในการสร้างแรงงานอาชีวทวิภาคีสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก
คำสำคัญ:
บทบาทรัฐ, แรงงาน, อุตสาหกรรมพลาสติกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการบทบาทรัฐในการสร้างแรงงานอาชีวศึกษาในอุตสาหกรรมไทย 2) ศึกษาบทบาทรัฐในการสร้างอาชีวทวิภาคี สู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคบทบาทรัฐในการสร้างอาชีวทวิภาคีสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก 4) เสนอแนวทางบทบาทรัฐในการสร้างอาชีวทวิภาคีสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย (1) กลุ่มภาครัฐในการกำหนดนโยบาย (2) กลุ่มภาครัฐในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ (3) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ผลการศึกษา พบว่า 1) พัฒนาการบทบาทรัฐในการสร้างแรงงานสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมไทย ได้เป็น 4 ยุค ยุคที่ 1 เริ่มดำเนินการสร้างระบบการศึกษา 2527-2539 (ผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรม) ยุคที่ 2 ปฏิรูปการศึกษา ปรับปรุงการเรียนการสอนในระบบอาชีวศึกษา ยุคที่ 3 ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) มุ่งเน้นให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ และ ยุคที่ 4 การสร้างอาชีวศึกษาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ให้อาชีวะมีความเป็นสากลและร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น 2) บทบาทรัฐในการสร้างแรงงานอาชีวทวิภาคีสู่ตลาดอุตสาหกรรมพลาสติก ประกอบด้วย 1. บทบาทรัฐในการกำหนดนโยบายสร้างแรงงานอาชีวศึกษาทวิภาคี และ 2. บทบาทรัฐในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ 3) ปัญหาและอุปสรรคบทบาทรัฐในการดำเนินโยบาย เกิดจากความไม่เพียงพอบุคลากรในการจัดการเรียนการสอน และ 4) ข้อเสนอ คือ รัฐควรให้อำนาจสถาบันการศึกษากำหนดโครงสร้างหลักสูตรที่เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของชุมชน รัฐมีหน้าที่ในการอำนวยการเท่านั้น และส่งเสริมงานวิจัยในการพัฒนาฝีมือแรงงงานอาชีวศึกษาทวิภาคี
References
จุมพล หนิมพานิช. (2554). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบข่าย แนวคิดทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปาริฉัตร จันโทริ. (2555). การศึกษาระบบทวิภาคี ทางออกของปัญหาแรงงานไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 35(135), 30-33.
สกนธ์ ชุมทัพ. (2548). “กลยุทธ์การนำนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.” วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี อนาคตประเทศไทยเพื่อความมั่นคง มั่งคัง ยังยืน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา: ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว