อัตลักษณ์ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีไทย

ผู้แต่ง

  • สุชีรา สามกษัตริย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, นายกรัฐมนตรีทหาร, นายกรัฐมนตรีพลเรือน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีทหาร (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และอดีตนายกรัฐมนตรีพลเรือน (พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร) และ 2) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของอัตลักษณ์ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีทั้งสองท่านดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มนายทหาร นักการเมือง เครือญาติ มิตรสหาย ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ที่ใกล้ชิดหรือผู้เคยปฏิบัติงานร่วมกับนายกรัฐมนตรี และอื่น ๆ ที่สามารถให้ข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์ตัดสินระดับการปฏิบัติงาน และความรู้สึกต่องานของนายกรัฐมนตรีจากปัจจัยภูมิหลัง การได้มาซึ่งตำแหน่ง ลักษณะเฉพาะตัวหรืออุปนิสัยใจคอ ลีลาการปฏิบัติงานในหน้าที่ และความรู้สึกต่องานหรือความพึงพอใจต่องาน ภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีอัตลักษณ์ (theory of character) ของ James David Barber ซึ่งจะใช้เป็นปัจจัยหลักในการอธิบายและพยากรณ์พฤติกรรมของนายกรัฐมนตรี โดยผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับงานวิจัยนี้มีจำนวน 12 ท่าน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ตามแนวคิดทฤษฎีอัตลักษณ์ Barber นายกรัฐมนตรีทั้งสองท่าน มีอัตลักษณ์ทางการเมืองในแบบเดียวกัน คือ อัตลักษณ์แบบปรับตัว (adaptive) ลักษณะการทำงานจึงมีรูปแบบความสัมพันธ์แบบระดับการปฏิบัติงานสูง (ทำงานหนัก) และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานมาก เป็นลักษณะการบริหารงานที่มีความขยัน กระตือรือร้น และมีความสุขในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีทั้งสองมีลักษณะเฉพาะตัว คุณสมบัติของความเป็นผู้นำ และลักษณะการทำงานที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันที่ส่งผลต่อการมีอัตลักษณ์แบบปรับตัวตามสถานการณ์เหมือนกัน อาทิ การมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นนักแก้ไขปัญหา และมีทักษะในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นต้น ซึ่งลักษณะเหล่านี้ เป็นผลมาจากภูมิหลังด้านครอบครัว การศึกษา และอาชีพของนายกรัฐมนตรี และ 2) แม้ว่านายกรัฐมนตรีทั้งสองท่านจะมีภูมิหลังด้านครอบครัว และการศึกษาบางประการที่เหมือนกันและส่งผลให้มีอัตลักษณ์แบบปรับตัวที่เหมือนกัน แต่ก็ยังมีปัจจัยภูมิหลังด้านครอบครัวและการศึกษาอีกบางประการที่ต่างกัน รวมถึงอาชีพ และการได้มาซึ่งตำแหน่งที่แตกต่างกันเหล่านี้ล้วนมีส่วนส่งผลทำให้นายกรัฐมนตรีทั้งสองมีลักษณะเฉพาะตัว และพฤติกรรมทางการบริหารและทางการเมืองบางประการที่แตกต่างกัน

References

กฤตยา เชื่อมวราศาสตร์. (2559). บทบาทหน้าที่และความเป็นผู้นำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ปรากฏในข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์รายวัน. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขวัญชัย รุ่งฟ้าไพศาล. (2548). กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในความคิดเห็นของนักวิชาการสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และนักวิชาชีหนังสือพิมพ์.วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). ทฤษฎีองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
บุษบา สินสมบูรณ์. (2549). ผู้นำการเมืองไทยยุคโลกาภิวัตน์กับยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดที่ส่งผลกระทบต่อหลักธรรมาภิบาล: ศึกษาเฉพาะกรณี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2544-2549.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 7(1), 100-110
ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา.นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการยึดอำนาจภายใต้วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 15-25.
ลินดา สมประสงค์. (2549). บทบาทผู้นำทางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กับการพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ, สุขุม นวลสกุล และวิทยา จิตนุพงศ์. (2558). การเมืองและการปกครองไทย.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สนธิ บุญยรัตกลิน. (2555). ผู้นำทางการเมืองไทยยุคใหม่: กรณีของนายกรัฐมนตรีร่วมสมัย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมัย จิตต์หมวด. (2554). พฤติกรรมผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุนทร เพราะสุนทร. (2539). อัตลักษณ์ของอธิบดีกรมตำรวจไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัฒนา บุญธรรม ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ (2560). วิเคราะห์วาทกรรมเพื่อสร้างความปรองดองตามหลักวาจา สุภาษิตของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(ฉบับพิเศษ. ปี พ.ศ.2560.)
Barber, J. D. (1977). The presidential character: Predicting performance in the white house. New York: Prentice Hall.
Barber, J. D. (1985). The presidential character (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Supaporn, M. (1984). The role performance of prime ministers in the Thai political system: Styles of military and civilian rule, 1932-1983. Unpublished Dissertation, Case Western Reserve University.
Sasson, G. J. (1991). The applicability of James Barber’s presidential character model on the examination of successful school superintendents. The University of Cincinnati. PH.D.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27