กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชลิดา ลิ้นจี่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, สำนักงานบัญชี

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการ การจัดการองค์กร และ กลยุทธ์ทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย และ 3) ตรวจสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยแบบใช้เทคนิคผสมผสาน ระหว่างเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสำนักงานบัญชีในประเทศไทย จำนวน 423 ราย  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 5 ตอน เป็นการตรวจสอบรายการ  Rating scale 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC)  จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.873-0.931 วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์การวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

            ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการ การจัดการองค์กร และ กลยุทธ์ทางการตลาด  ได้รับอิทธิพลเชิงบวกโดยรวมกับกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย (B = 0.13) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากคุณลักษณะของผู้ประกอบการ อิทธิพลทางตรง (B = 0.56) อิทธิพลทางอ้อม (B = 0.07)  การจัดการองค์กรมีอิทธิพลทางตรง (B = 0.29) อิทธิพลทางอ้อม (B = 0.19) และกลยุทธ์ทางการตลาดมีอิทธิพลทางตรง (B = 0.27) ซึ่งแบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าความสอดคล้องกลมกลืนโดยมีค่า Chi-Square = 502.556 df = 191 Sig = 0.000 CMIN/df = 2.631 n = 423 CFI = .957 NFI = .933GFI = .908 IFI = .958 RMSEA = .062 RMR = .024 กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ประกอบไปด้วยคุณลักษณะของผู้ประกอบการ การจัดการองค์กร และกลยุทธ์ทางด้านการตลาด ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านการจัดการองค์กร และกลยุทธ์ด้านการตลาด ก็ต้องให้ความสำคัญควบคู่ในการบริหารสำนักงานบัญชี เพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนและยังคงอยู่. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=71.
นวพร สังวร และสุดาพร สาวม่วง. (2014).กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการ ส่งออกยางพาราไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Journal of the Association of Researchers 19(1).
ไพรัตนา บุญบุตร. (2554). ผลกระทบของกลยุทธ์บริการเชิงรุกที่มีต่อความเป็นเลิศทางการบริการของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์. สำนักวิทยบริการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และเบญญาภา กันทะวงศ์วาร. (2554). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการวัดผลปฏิบัติแบบดุลยภาพ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 2(1), 41- 57
วรรณา สรชาย. (2558). องค์ประกอบของสำนักงานบัญชี ที่ผู้ประกอบการ SMEs เลือกใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาการบัญชี คณะบัญชี. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.(2556). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS. วารสารการเงินการลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 3(4), 562-568
สุพัตรา จันทนะศิริ และคณะ. (2561). ผลกระทบของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. International Journal of the computer, The internet and Management, 27(2) , 128-131
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.Griffin, R. W (2561). การจัดการองค์กร. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561 จาก www.google.co.th/search?rlz=1C1CHMC_thTH603TH603&biw=1366&bih=613&q
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.
Mintzberg, H. (2561). การจัดการ. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561. จาก
http://drchayanin.blogspot.com/2014/10/blogpost.html
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The Strategy Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning Implementation and Control (14th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Patiar, A. & Mia, L. (2009). Transformational Leadership Style, Market Competition and Departmental Performance: Evidence from luxury hotels in Australia. International Journal of Hospitality Management, 28(2), 254-262
Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.Robbins, S. P. & Decenzo,D .A. (2004). Human Resource Management. (6th ed.) New York: John Wiley & Sons, Inc.
Certo, S. C. (2003). Modern Management. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-27