แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาล เมืองลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การบริหารงาน, เทศบาลเมืองลาดสวายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลเมืองลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาลเมืองลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติการทอสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพครอบครัว อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลเมืองลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกัน และ 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วม คือ จัดตั้งให้มีตัวแทนประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงนโยบายการบริหารงาน และ สำรวจความต้องการของประชนในการที่จะมีส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภายใน
References
โชคสุข กรกิตติชัย. (2561). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
พัชพล มิกราช. (2553). ปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยราชภัฎสกลนคร.
พรรณศักดิ์ บุรกรณ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานสาธารณะขององค์การบริหารส่วน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.
ศรฤทธิ์ ดาบพลอ่อน. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว