แรงจูงใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ส่งผลต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร หนูพรหม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พนักงานตอนรับบนเครื่องบิน, คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทยที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป  จำนวน 15 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ร่วมกับวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบแก่นสาระ

            ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เกิดจากแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายใน โดยแรงจูงใจภายนอกได้แก่ (1) ผลตอบแทน (2) ความมั่นคงในการทำงาน (3) เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน และแรงจูงใจภายในได้แก่ (1) ต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง (2) เกิดจากความภาคภูมิใจ

References

กฤษณา ศักดิ์ศรี. (2534). มนุษยสัมพันธ์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา .
จำรัส เลาสัตย์. (2549). ความพึงพอใจของผู้โดยสรต่อการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้นทุนต่ำภายในประเทศ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
วิภา โตประเสริฐ. (2552). การศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวไทยที่มีต่อการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. สาขาการจัดการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอนก สุวรรณบัณฑิต และ ภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ: อดุลพัฒนกิจ.
Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using Thematic Analysis in Psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101.
Sharpley, R. (2003). Tourism, tourists & society (3rd (revised) ed.). Huntingdon, England: ELM.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30