บทบาททางการเมืองของทหารเรือในห้วงเวลา พ.ศ. 2475 - 2557
คำสำคัญ:
บทบาททางการเมืองของทหารเรือ, วัฒนธรรมทางการเมืองของทหารเรือ, พัฒนาการทางการเมืองไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาททางการเมืองของทหารเรือในห้วงเวลา พ.ศ. 2475-2557 2) วัฒนธรรมทางการเมืองของทหารเรือในห้วงเวลา พ.ศ. 2475-2557 และ 3) บทบาทและวัฒนธรรมทางการเมืองของทหารเรือที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทยในห้วงเวลา พ.ศ. 2475-2557 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นทหารเรือ เป็นการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาททางการเมืองของทหารเรือบางส่วนที่ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ 2475ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นต่อระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และบทบาททางการเมืองเมื่อครั้งจลาจลในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน โดยไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลของคณะรัฐประหารที่มิได้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง และหลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันยุติลง ทหารเรือก็ถูกลดบทบาททางการเมืองลงไป จนถึงยุคปัจจุบันบทบาททางการเมืองของทหารเรือก็เป็นไปในลักษณะนิ่งเฉยหรือคล้อยตามนโยบายของรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจที่ต้องการให้ทหารเรือให้การสนับสนุนเท่านั้น 2) วัฒนธรรมทางการเมืองของทหารเรือ แม้ว่าทหารเรือบางส่วนจะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ 2475 รวมถึงเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง อาทิเช่น กบฏวังหลวง และกบฎแมนฮัตตัน เป็นต้น จนในที่สุดทหารเรือถูกลดบทบาททางการเมืองลงไปมาก ลักษณะดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของทหารเรือ กล่าวได้ว่า ทหารเรือยังไม่มีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ 3) บทบาททางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองของทหารเรือในห้วงเวลา พ.ศ. 2475-2557 ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ดังนี้ (1) ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (2) ในห้วงเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน พ.ศ. 2494 (3) ในห้วงหลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน และ (4) ในห้วงเวลายุคปัจจุบัน
References
นรนิติ เศรษฐบุตร. (2522). เสนาธิปไตย ทหารกับการพัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: หนังสือสยาม.
นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). วันการเมือง. กรุงเทพมหานคร: ส เจริญ การพิมพ์.
นิรัตน์ ทากุดเรือ. (2555). การกล่อมเกลาและเรียนรู้ทางการเมืองของทหารเรือไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
ประดับ เปรมดิษฐ์. (2543). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการทหารเรือ: ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมในการปฏิวัติ พ.ศ. 2475. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประภาพร สีหา. (2561). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 146-166
เพลิง ภูผา. (2558). สงครามกลางเมือกบฎแมนฮัตตัน. กรุงเทพฯ: สยามความรู้.
รัฐธรรมนูญแห่งราชาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 124(47ก), 1-127.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). การเมืองการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภการ สิริไพศาล และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2556). กบฏแมนฮัตตัน. ค้นเมื่อ 28กันยายน 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=กบฏแมนฮัตตัน
สุจิต บุญบงการ. (2531). การพัฒนาทางการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดา กาเดอร์. (2516). กบฏแมนฮัตตัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แสงรุ้งการพิมพ์.
สุมาลี พันธุ์ยุรา. (2557). กบฏวังหลวง. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=กบฏวังหลวง
สุรศักดิ์ ทองเพชร. (2547). บทบาทของกองทัพเรือไทยในปัจจุบันที่มีผลประโยชน์ของชาติในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อดิเทพ พันธ์ทอง. (2562). กองทัพไทย กลุ่ม (พรรค) การเมืองที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศ. ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2562, จาก https://thepeople.co/thai-army-strongest-political-party/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว