บทบาทพระสงฆ์กับแนวคิดอเนกชนนิกรสโมสรสมมติในสังคมการเมืองไทยยุคปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระสมัคร ศรีธร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บทบาทพระสงฆ์, อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ, การเมืองไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการอเนกชนนิกรสโมสรสมมติในสังคมไทย 2) เปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ทางการเมืองและสังคมไทยกับต่างประเทศ 3) บทบาทพระสงฆ์กับแนวคิดอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติในสังคมการเมืองไทยยุคปัจจุบัน และ 4) เสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์กับแนวคิดอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติในสังคมการเมืองไทยยุคปัจจุบัน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร เพื่อสังเคราะห์หาข้อสรุปแนวคิดอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ โดยใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

          ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการอเนกชนนิกรสโมสรสมมติในสังคมไทยมีรูปแบบที่ถูกกำหนดโดยชนชั้นปกครองร่วมกับพระสงฆ์ระดับสูงหรือพระสงฆ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศูนย์กลางอำนาจรัฐนั้นคือความสัมพันธ์ที่พระสงฆ์ต้องพึ่งพาการอุปถัมภ์จากรัฐและพระสงฆ์จะทำหน้าที่สนับสนุนการปกครองของรัฐผ่านการเทศนาสั่งสอนปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) เปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ทางการเมืองในสังคมไทยกับต่างประเทศ พบว่า ไม่มีความแตกต่างในบทบาทที่พระสงฆ์ไทยและต่างประเทศ ต่างต้องเผชิญกับวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองร่วมกับประชาชนในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ พระสงฆ์พึ่งพาปัจจัยสี่จากประชาชน ประชาชนพึ่งพาพระสงฆ์ในทางปัญญา 3) บทบาทพระสงฆ์กับแนวคิดอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ พบว่าบทบาทสำคัญยิ่งของพระสงฆ์คือ บทบาทในการลดความแตกแยกเสริมสร้างสังคมแห่งปัญญาและแก้ไขความขัดแย้งในสังคมโดยสันติวิธี ด้วยการเทศนาสั่งสอนผ่านการใช้หลักธรรมมาบูรณาการให้ประชาชนได้รับรู้สร้างสังคมแห่งปัญญาที่ให้ทุกคนในสังคมตระหนักรู้รากเหง้าของความเป็นวัฒนธรรมไทย และ 4) เสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์กับแนวคิดอเนกชนนิกรสโมสรสมมุติในสังคมการเมืองไทยยุคปัจจุบันเป็นไปในรูปแบบที่ต้องการสะท้อนให้ผู้นำทางการเมืองตระหนักรู้รากเหง้า ภูมิปัญญาดั้งเดิมของสังคมไทย มาปรับใช้ในทางการเมืองเพื่อสร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่าง มนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

References

ไกรฤกษ์ ศิลาคม. (2555). วิถีแห่งเสรีภาพทางการเมืองของพระสงฆ์ไทย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ในบริบทสังคมไทยสมัยปัจจุบัน. บทความนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 22 ปี 2555.
คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2527). พระพุทธศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
จรูญ สุภาพ. (2527). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
จันทนา สุทธิจารี. (2544). การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ วี.เจ พริ้นติ้ง.
จํานงค์ ทองประเสริฐ. (2554). ประวัติพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.
เจษฎา พรไชยา. (2546). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สถาอนันท์. (2549). สันติทฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วพิมพ์.
ชัยอนันต์ สมุทรวณิช. (2526). ภาษากับการเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยจุฬาลงกรณ์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2538). ประวัติการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสามัคคีสาร(ดอกหญ้า) จำกัด (มหาชน).
ชาตรี อุตสาหรัมย์. (2560). พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2518). จิตวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2554). พุทธศาสนากับสังคมการเมืองในอุษาคเนย์. เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจำปี 2554, 500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศไทยกับโปรตุเกส และชาติตะวันตกในอุษาคเนย์.พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ:โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
Almond, G. A. (1956). Comparative Political System. Journal of Political. 18, 398
Clark, D. N. (2000). Southeast Asia Crossroads of the World. Illinois, Southeast Asia Publications.
Easton, D. (1971). The political system: An in quirky into the State of Political Science. (2nd. ed.). New York: Knopf.
Eisenstadt, S. N. (1966). Modernization: Protest and Change. New Jersey: Prentice-Hall Press.
Geoffrey K. R. (1971). A dictionary of political analysis. Great Britain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30