แนวทางการปรับตัวของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในการทำงานร่วมกับ สายการบินต่างชาติ

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ อนันตพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน,, สายการบินต่างชาติ, การบริการ, การปรับตัว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการปรับตัวของพนักงานต้อนรับหญิงชาวไทยที่ทำงานในสายการบินต่างชาติ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ที่ให้ข้อมูลคือ พนักงานหญิงคนไทยที่ยังคงทำงาน หรือ เคยทำงานในสายการบินต่างชาติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก ร่วมกับวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์บุคคลแบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตแบบที่ผู้วิจัยมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตอย่างเปิดเผย)
            ผลของการวิจัยพบว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหมีวิธีการปรับตัวที่แตกต่างกัน โดยพฤติกรรมการปรับตัวสามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) พฤติกรรมการปรับตัวแบบสู้ และ2) พฤติกรรมการปรับตัวแบบหนี สำหรับการปรับตัวแบบ
สู้นั้น ยังสามารถแบ่งออกเป็นการปรับตัวสู้เพียงเพื่อการอยู่รอดในการทำงาน และการปรับตัวสู้เพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน หรือเพื่อให้มีหน้าที่การงานที่สูงขึ้นในอนาคต สำหรับพฤติกรรมการปรับตัวแบบหนี สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบเช่นกัน
คือ การปรับตัวหนีเพื่อหลุดพ้นจากปัญหาหรือ สถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เพียงชั่วคราว และการปรับตัวหนีจากสาเหตุของความเครียดอย่างถาวร

References

นฤพร พงษ์คุณากร วีระชัย เขื่อนแก้ว และวินัย รอบคอบ.(2555). ระดับความเครียด สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและการปรับตัวต่อความเครียด. หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง.
มรรยาท รุจิวิชชญ์. (2556). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลักขณา สริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Lazarus, R. S. (1966). Psychological stress and the coping process. NY: McGraw-Hill.
Selye, H. (1976). The stress of life (2nd ed.). NY: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28