แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชมพูนุช จิตติถาวร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวโดยชุมชน, ศักยภาพการท่องเที่ยว, แนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมาและเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวโดย
ชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งงานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Interview) เพื่อสอบถามความคิดเห็นด้านศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 3 กลุ่มประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มที่ 2 ผู้แทนชุมชนและกลุ่มที่ 3 ผู้แทนผู้ประกอบการท้องถิ่น จำนวนรวมทั้งสิ้น 28 คน
           ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพที่โดดเด่นของชุมชน จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจ โดยชุมชนจังหวัดนครราชสีมา มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ส่วนศักยภาพด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวพบว่าชุมชนมีกิจกรรมเฉพาะของแต่ละชุมชนซึ่งถือเป็นข้อดีของชุมชนอย่างไรก็ตามศักยภาพที่ชุมชนควรพัฒนามีด้วยกันหลายองค์ประกอบ เช่น ศักยภาพด้านการจัดการ ซึ่งเป็นศักยภาพที่ควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน กล่าวคือชุมชนควรกำหนดกฎกติกาและจัดการร่วมกัน ด้านวิธีการกระจายรายได้ในชุมชนรวมถึงการพัฒนาด้านข้อมูลข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ และ ศักยภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ชุมชนควรพัฒนาปรับปรุง
ถนน ป้ายบอกทาง รวมถึงการบริการด้านร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และจุดบริการนักท่องเที่ยวในชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว นอกจากองค์ประกอบทางศักยภาพที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนแล้ว ชุมชนควรส่งเสริมศักยภาพด้านกิจกรรม โดยชุมชนควรพัฒนาชุมชนให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดปี ด้านองค์กรชุมชน ชุมชนควรกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกช่วงวัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558a). แถลงข่าวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2561, จาก https://www.mots.go.th/content.php?nid=6745&filename
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558b). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558–2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2018). Tourism Go Local ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต. TAT Review, 4. จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-go-local/
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ & สุวิทย์ สุวรรณโณ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว กับการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 14(1), 202-213.
ประกิจ ลอยเลิศฤทธิ์ & ระชานนท์ ทวีผล. (2560). การประเมินศักยภาพขององค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสาหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุใน จังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษา: พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน.Paper presented at the การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0", ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี, 1452-1459.
ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนการเกี่ยวกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยว.กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร & ภาคภูมิ ภัควิภาส. (2556). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าเพื่อความยั่งยืน. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 6(1), 42-60.
วีระพล ทองมา. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism: CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. กรุงเทพมหานคร: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2561 จาก www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า (2556). การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในมุมมองนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่น. วารสาร Veridian E-Journal, 6(1), 548-560
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม & ชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 9(1), 234-259.
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด: รายได้จากการท่องเที่ยว. จาก http://intelligencecenter.tat.or.th/articles/11859
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แนวโน้มเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวปี 2561. ค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 กรุงเทพมหานคร: http://ttaa.or.th/.pdf
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561, จาก http://www.cbt-i.or.th/
สำนักพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2561). รายงานการประชุมพัฒนาการอำเภอ ครั้งที่ 9/2561. (9/2561). นครราชสีมา: สำนักพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 from http://korat.cdd.go.th/2018/09/28/ประชุมพัฒนาการอำเภอครั-3.
สมหมาย ตามประวัติ. (2555). การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis). ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561, จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2854-content-analysis
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2558). ท่องเที่ยวโดยชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โคคูน แอนด์ โค.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2551). การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมอันดามันจุดเปลี่ยนอันดามันสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (pp. 138). ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2561 from http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M10_213.pdf

ไตรภพ โคตรวงษา, ครรชิต มาระโภชน์ & ชุติมา รุ่นพันธ์. (2555). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2).
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17-29.
Choi, H. C., & Sirakaya, E. (2006). Sustainability Indicators for Managing Community Tourism. Tourism Management, 27(6), 1274-1289
Choong, D. (2017). Mastercard Asia Pacific Destination Index 2017 [Press release]. Retrieved december, 29 2019 from https://newsroom.mastercard.com/asia-pacific/files/2017/04/Report-Mastercard-Asia-Pacific-Destinations-Index-2017.pdf
Dodds, R., Ali, A. & Galaski, K. (2018). Mobilizing knowledge: determining key elements for success and pitfalls in developing community-based tourism. Current Issues in Tourism, 21(13), 1547-1568.
Koontz, H & Weihrich, H. (2015). Essentials of Management: An International, Innovation,and Leadership Perspective (10th ed.). India: McGraw-Hill Education (India) Private Limited.
Razzaq, A. R. A., Mustafa, M. Z., Ali Suradin, R. H., Hamzah, A. & Khalifah, Z. (2012). Community Capacity Building for Sustainable Tourism Development: Experience from Miso Walai Homestay. Business and Management Review, 2(5), 10.
Rout, P. C. & Gupta, S. K. (2017). Asset based community development in mountain environs: a strategic application for sustainable community based tourism development in the Jaunsar-Bawar region of Uttarakhand, India. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 6(3), 1-11.
Dickman, S. (2000). Tourism: an introductory text (3rd ed.). Sydney: Hodder Headline.
Strydom, A. J., Mangope, D. & Henama, U. S. (2018). Lessons learned from Successful Community-Based Tourism Case Studies from the Global South. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 7(5), 1-13.
The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). (2016). ASEAN Community Based Tourism Standard, T. A. o. S. A. N. (ASEAN) (Ed.) (p. 270).
Middleton, V. T. C. & Clarke, J. R. (2001). Marketing in Travel and Tourism (3rd ed.). UK: Butterworth-Heinemann.
Zapata, M. J., Hall, C. M., Lindo, P. & Vanderschaeghe, M. (2011). Can community-based tourism contribute to development and poverty alleviation? Lessons from Nicaragua. Current Issues in Tourism, 14(8), 725-749.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28