ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • กรณิศ วงศ์วานิช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กรเอก กาญจนาโภคิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ของส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 3) เพื่อหาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mix Method Research) พื้นที่วิจัยคือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พื้นที่กรุงเทพมหานคร) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาโทโครงการพิเศษหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 361 ตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมการตลาดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.66, S.D. = .651. 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจในทุกด้าน (R = .813, 3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ ได้แก่ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (R2 = .715) ส่วนปัจจัยด้านสถานที่ และปัจจัยด้านกระบวนการไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ

References

กฤษฏิ์ ชนะชัย (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางสารสกัดจากใบบัวบก ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัลณพัฒน์ รัศมีเมฆินทร์. (2551). MD ชี้ชะตาธุรกิจ. Making Decision Effectively. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไอ เอ็ม บุ๊คส์ จำกัด.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชย ณ พล, (2543). ศาสตร์แห่งการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.

ณงลักษณ์ จารุวัฒน์. (2560). Marketing 4.0 (การตลาด 4.0). กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประสิทธิ์ ทองแจ่ม. (2556). การคิดและการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สุราษฎร์ธานี: เค. พี. กราฟฟิค การพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดบริการ (Service Marketing). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : พี. เอ. ลีฟวิ่ง.

เรวัตน์ ชาตรีวิศิษฎ์. (2549). Marketing Management ง่ายเหมือนจับวาง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: อิมเมจ เอ็นเตอร์ไพรส์.

สิริวุฒิ บูรณพิร. (2540). กลยุทธ์การตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Alina Stankevich (2017). Explaining the Consumer Decision-Making Process: Critical Literature Review. Journal of International Business Research and Marketing, 2(6), 7-8.

Booms, B.H. and Bitner, M.J. (1980). New management tools for the successful tourism manager. Annals of Tourism Research, 7(3), 337–352.

Igital geek. (2018). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก www.igitalgeek.com

Kotler, P. (1997). Marketing management : analysis, planning, implementation and control. 9th ed. New Jersey :A simon & Schuster Company.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rafiq, M. and Pervaiz K. A. (2002). Internal marketing : tools and concepts for customer-focused management. Oxford : Butterworth-Heinemann.

Simon, H.A. (2002). Introduction. Industrial and Corporate Change, 11 (3), 583–586.

Youcef S., Keltouma M. and Imane A. (2015).The Impact of Marketing Mix Elements on Customer Loyalty for an Algerian Telecommunication Company. Expert Journal of Market ing, 3(1), 1 -10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-16