ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพการปฏิบัติงานกับการมีส่วนร่วมของ บุคลากรโรงพยาบาลเอกชนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาด ไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
การจัดการคุณภาพ, การมีส่วนร่วม, โรงพยาบาลเอกชน, โรคระบาดไวรัค -โควิด19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ในโรงพยาบาลเอกชนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ในโรงพยาบาลเอกชนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อหาการจัดการคุณภาพใน
การปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร ในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19
ในโรงพยาบาลเอกชนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่ และประชากรวิจัย คือ บุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธี
การ non-probability sampling สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ทดสอบที
การวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การจัดการคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับความเห็นมาก ( = 4.09, S.D. = 0.484) (2) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การจัดการคุณภาพการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของบุคลากรสัมพันธ์กันในทุกด้านโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 66.6 (3) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า การจัดการคุณภาพในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร ได้แก่ ด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการตรวจสอบคุณภาพ ด้านการพัฒนาคุณภาพ (R2 = .447) ส่วนด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และด้านการวางแผนคุณภาพ ไม่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากร
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัส “โควิด-19”
(COVID-19). ค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จักร ติงศภัทิย์. (2549). การจัดการยุคใหม่ กลยุทธ์การบริหารผลการดำเนินการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฬีวรรณ เติมผล. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชญานุตม์ ทุ่มทวน และสาโรช เนติธรรมกุล. (2559). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปฏิบัติงานและปัจจัยด้านการบริหาร กับผลการดำเนินงานในการพัฒนาและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1),127-128.
ชุดิระ ระบอบ. (2553). การจัดการคุณภาพ (QUALITY MANAGEMENT). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
นภาพร ขันธนภา. (2554). การจัดองค์การและการบริหารธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2557). การบริหารคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงศ์สฎา เฉลิมกลิ่น. (2560). การจัดการคุณภาพทางธุรกิจ (Quality Business Management). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.
แววดาว ทวีชัย และวันทนีย์ จันทร์เอี่ยม. (2559). ศึกษาการจัดการข้อมูลเพื่อการรับรองคุณภาพพยาบาล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารพยาบาลสาร, 43(3), 102-103.
ศุภชัย นาทะพันธ์. (2562). การประกันคุณภาพ (Quality Assurance). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมชาย เทพแส และคณะ. (2552). การบริหารจัดการสมัยใหม่: กุญแจสู่ความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: เกรท เอ็ดดูเคชั่น.
Agarwal. (1982). Organization and Management. New York: Tata McGraw-Hill.
Jain, P.L. (2006). Quality Control and Total Quality Management. (3rd ed). India: Prentice Hall.
Poornima M. Charantimath. (2011). Total Quality Management. India: Dorling Kindersley.
Yamane,T. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. (2nd ed). Tokyo: Harper International Edition.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว