นโยบายของรัฐในการบริหารจัดการการพนันมวยไทย

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ บัวทองธนะการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศุภชัย ศุภผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จักรี ไชยพินิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

มวยไทย, ล้มมวย, การพนัน, การพนันมวยไทย, การพนันออนไลน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการการพนันมวยไทยในสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและ
แนวโน้มในอนาคต 2) รูปแบบและวิธีการดำเนินธุรกิจการพนันมวยไทยในสังคมไทย และ 3) นโยบายของรัฐในการบริหาร
จัดการการพนันกีฬามวยไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิจัยเอกสาร และการ
สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ภาครัฐ จำนวน 3 ท่าน และบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายของ
รัฐในการบริหารจัดการการพนันมวยไทย ประกอบด้วย (1) หัวหน้าค่ายมวย (2) ผู้จัดรายการแข่งขันมวย (โปรโมเตอร์) (3)
นายสนามมวย (4) กรรมการผู้ตัดสิน (5) ผู้ฝึกสอนนักมวย (6) นักมวย (7) เซียนมวย และ (8) สื่อมวลชนกีฬามวยไทย จำนวน
11 ท่าน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การพนันมวยเป็นตัวหล่อเลี้ยงธุรกิจมวยไทย เนื่องจากผู้ชมส่วนใหญ่จะเข้าไปเล่นการพนันมวย
มากกว่าที่จะเข้าไปชมศิลปะมวยไทย การพนันจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของสนามมวย ผู้จัดรายการ หัวหน้าค่ายมวย และ
นักมวย โดยเฉพาะผู้จัดรายการจะต้องประกบมวยเป็นที่พอใจกับเซียนมวย เพราะมวยชกกันสูสี นอกจากจะดูสนุกแล้วจะทำ
ให้มีปริมาณการเล่นการพนันมาก อันเนื่องมาจากราคาต่อรองที่สูสีนั้นเอง ทางด้านสนามมวยก็ต้องการผู้จัดรายการที่ประกบคู่
มวยได้สูสี เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากผู้ชมที่เข้ามาเล่นการพนันมวย 2) ภาครัฐมีบทบาทเพียงแค่การออกใบอนุญาตเล่น
การพนันมวยให้กับทางสนามมวยเท่านั้น มีพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ที่เป็นกฎหมายควบคุม แรกเริ่มการพนัน
มวยจะเล่นในสนามมวยเท่านั้น ต่อมาพนันกันผ่านมวยตู้ และมีราคาต่อรองมวยที่มีเจ้ามือรับพนันทางโทรศัพท์ ปัจจุบันยังมี
การพนันในระบบออนไลน์ 3) พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มากกว่า 80 ปี
บทบัญญัติและอัตราโทษจึงไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เพราะการเล่นพนันได้มีการพัฒนาวิธีการเล่นให้ซับซ้อนมากขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสนับสนุนในการเล่นการพนัน ดังนั้น ภาครัฐจึงควรปรับปรุงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยการพนันให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน

References

ทฤษฎี สิทธิประเสริฐ. 2535. โครงสร้างและพฤติกรรมของตลาดมวยไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตพงษ์ สอนสุภาพ. 2560. โครงสร้างและพฤติกรรมการพนันมวยไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.
ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2556). ย้อนรอยประวัติศาสตร์พนันไทย. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2561, จาก http://gamblingstudy-th.org/en/news_details.php?url=news_details/39/1/%E0% B8%20%E0%B9%20%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%20%E0%B8%A7%E0%B9%20%E0%B8%20----/
Mouffe, C. (1979). Hegemony and ideology in Gramsci in Gramsci & Marxist Theory.London: Routledge & Kegan Paul.
Clark, G. L., & Dear, M. J. (1984). State Apparatus: Structures and Language of Legitimacy.Boston: Allen & Unwin Inc.
Nisbet, R. A. (1969). Social Change and History: Aspect of the Western Theory of Development. London: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-27