การเมืองในการกำหนดนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัย

ผู้แต่ง

  • ปรินทร พลรัฐธนาสิทธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเมือง, การกำหนดนโยบาย, ธุรกิจรักษาความปลอดภัย

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องการเมืองในการกำหนดนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการในการกำหนดนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัยภายใต้บริบทการเมือง 2) ผลกระทบพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม (1) กลุ่มภาครัฐ และ (2) กลุ่มภาคเอกชน ผู้มีส่วนได้เสียในนโยบาย เพื่อสังเคราะห์ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยการเมืองในการกำหนดนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัย

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการในการกำหนดนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัยภายใต้บริบทการเมืองจึงเป็นเรื่องกระบวนการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้ “อำนาจ” ผ่านกลไกเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์ที่อาศัยฝ่ายระบบการเมืองในการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในการจัดระเบียบธุรกิจรักษาความปลอดภัยเอกชนให้มีรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ ด้วยเหตุผลต้องการสร้างมาตรฐานธุรกิจรักษาความปลอดภัยให้สู่มาตรฐานสากล และเป็นการสร้างระบบธุรกิจรักษาความปลอดภัยสู่ความยั่งยืน และ 2) ผลกระทบพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 จากการใช้อำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการควบคุมธุรกิจรักษาความปลอดภัยที่เบ็ดเสร็จตั้งแต่กระบวนการตั้งต้นในการประกอบอาชีพธุรกิจรักษาความปลอดภัยของผู้ประกอบการ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่จะต้องปิดตัวลงด้วยเหตุผลของทุนในการจะทะเบียน และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงสร้างภายในองค์กร และผลกระทบต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ต้องว่างงานจากการขาดคุณสมบัติเฉพาะในการประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัย จนนำมาสู่ความขัดแย้งจนในที่สุดรัฐบาลต้องเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายธุรกิจรักษาความปลอดภัยเอกชนเป็นการชั่วคราวเพื่อต้องการลดข้อขัดแย้งระหว่าผู้นำนโยบายสู่คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกับกลุ่มธุรกิจรักษาความปลอดภัยขนาดเล็ก ขนาดกลาง และกลุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัย

References

คำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่ 67/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธุรกิจรักษาความความปลอดภัย. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 256 ง วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559, หน้า 9-10.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554). วิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด. นครปฐม: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.
จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิพย์อาภา เสฐจินตนิน. (2551). การรักษาความปลอดภัยภาคเอกชน: ศึกษาเฉพาะกรณีการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2554). การเมืองในนโยบายสาธารณะขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปานจินต์ สุทธิกวี. (2561). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558. การประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติครั้งที่1 หัวข้อ “ระบบกฎหมายไทย: ปฏิรูป/เปลี่ยนผ่าน/ ปฏิสังขรณ์” วันที่8 มิถุนายน 2561 โรงแรมแคนทารีฮิลล์จังหวัดเชียงใหม่จัดโดย คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562, จาก www.law.cmu.ac.th/lasc/conference/wp-content/uploads/sites/2/2017/09/11ปานจินต์1.pdf
พงษ์กฤษณ์ มงคลสินธุ์, พเยาว์ ศรีแสงทอง และ โชติมา แก้วทอง. (2552). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพรักษาความปลอดภัย: [รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์]. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิชญเดช โอสถานนท์. (2555). การเมืองในกระบวนการกำหนดนโยบายแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ศึกษากรณีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.).วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์. (2555). การเมืองของกระบวนการกำหนดนโยบายโฉนดชุมชน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการปกครอง) คณะรัฐศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558. (2558). กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
วรเดช จันทรศร. (2547). รัฐประศาสนศาสตร์: จากอดีตสู่อนาคตของการวิจัยในการพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: หจก. สหายบล็อกและการพิมพ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2553). ธุรกิจรักษาความปลอดภัย: ธุรกิจที่ยังเติบโตต่อเนื่อง (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2837) ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2562, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/business/Pages/25197.aspx#_ftn1
แสงวัน โรจนธรรม. (2549). ผู้หญิงกับการทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตร-มหาบัณฑิต (สตรีศึกษา). สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Easton, D. (1953). The Political System. New York: Knopf.
Lasswell, H. D. & Kaplan, A. (1950). Power and Society: A Framework for Political Inquiry. New Haven: Yale University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28