ศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนตามหลักพหูสูต 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดประภัสพันธ์ ปนาโท (ฤทธิ์สกุลวงษ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครู โอภาสนนทกิตติ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกษม แสงนนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การเรียนการสอน, พหูสูต 5

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนของนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนตามหลักพหูสูต 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อเสนอแนวทางการเรียนการสอนของนักเรียนตามหลักพหูสูต 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research)โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) จากกลุ่มตัวอย่าง 317 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จำนวน 5 คน แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) หาลักษณะร่วม (Common character) และข้อสรุปร่วม (Common Conclusion)

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้ง 5 ด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนตามหลักพหูสูต 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หลักธรรมพหูสูต คือ ฟัง จำ ท่อง คิด เข้าใจ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอน แบบเห็นเด่นชัด เมื่อฟังมาก ๆ จะมีข้อมูลมาก จำได้จึงนำมาใช้ได้ทันที ท่องจนคล่องปากถ่ายทอดแบบไม่ผิดเพี้ยน คิดถึงเมื่อใดเกิดการสร้างสรรค์และเข้าใจพร้อมที่จะนำมาปฏิบัติผู้สอนได้พบกับวิธีการที่หลากหลายในการถ่ายทอดให้กับนักเรียน 3)แนวทางการเรียนการสอนของนักเรียนตามหลักพหูสูต 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การเรียนการสอนตามหลักพหูสูต 5 จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักวิชาต่าง ๆ ทั้งด้านการฟัง การอ่านค้นคว้า จำได้ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ จนสามารถนำไปใช้งานได้จริงและพัฒนาต่อได้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้แท้จริง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). นิยามคำศัพท์หลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการ.
ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2527). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการพัฒนาพฤติกรรมเด็ก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไชยรัตน์ ปราณี. (2545). การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ธนกฤต โพธิ์ขี. (2561). ผลการใช้เกมมัลติมีเดียเพื่อพัฒนาการจำและความคงทนใจการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2535). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2532). มังคลัตถทีปนี แปลเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
วิไลวรรณ จันณรงค์. (2530). การทดสอบสอนภาษาไทยแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามหลักพหูสูต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพิน บุญชูวงศ์. (2545). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: แสวงสุทธิการพิมพ์.
อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Cronbach. Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.
Ministry of Education. (1999). The development of a model for the management of the Buddhist Scriptures in Pali. Bangkok: Religious Printing Press.
Ministry of Education. (2010). Vocabulary definition, curriculum, core curriculum, basic education.
Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. (2010). Guideline for measuring and evaluating learning according to the core curriculum, Basic Education B.E. 2551. 2nd edition. Bangkok: The Agricultural Cooperative Printing House of Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28