การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรมของ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ อบถม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ระวิง เรืองสังข์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารงานวิชาการ, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 3) เสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร จำนวน 5 คน การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 164 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสารการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ หาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มีความจำเป็นในการพัฒนา มี 6 ด้าน (1) ด้านการนิเทศและพัฒนาอาจารย์ (2) ด้านส่งเสริมและควบคุมงานวิชาการ (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4) ด้านหลักสูตร (5) ด้านการบริการวิชาการ และ (6) ด้านการวัดและประเมินผล 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรมของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย5 ส่วน คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรม  ประกอบด้วย 1. ภารกิจการบริหารงานวิชาการ 2. หลักพุทธธรรมในการบริหารงานวิชาการ 3. ขั้นตอนการบริหารงานวิชาการ 4. โครงการพัฒนาบุคลากรทางการบริหารงานวิชาการ (4) การนำรูปแบบไปใช้ และ (5) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ 3) การเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักพุทธธรรม ผลของรูปแบบทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความถูกต้อง และในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ

References

พรเทพ สารนันท์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พระวิเชียร สีหาบุตร. (2557). เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในสังคมอนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิเชษฐ์ โพธิ์ภักดิ์. (2553) การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
สมาน อัศวภูมิ. (2547). ที คิว เอ็ม การบริหารทั่วทั้งองค์กรในองค์การทางการศึกษา. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2558). ไทยและความพร้อม เข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/ThaiReadiness.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Kotter, J. P. (1999). John P. Kotter on What Leader Really Do. Boston: Harvard Business School Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28