ศึกษาแรงจูงใจของพระภิกษุสามเณรในการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหารัตน์ชนก กิตฺติรตโน (อรัญทอง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครู สาทรปริยัติคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พระภิกษุสามเณร, การเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีของพระภิกษุสามเณร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นพระภิกษุสามเณรที่มีต่อแรงจูงใจสำหรับพระภิกษุสามเณรในการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed Methods) วิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเป็นพระภิกษุ สามเณร ในสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาล จำนวน 210 รูป ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์เจ้าสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จำนวน 5 รูป เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนงานวิจัยเชิงปริมาณ และใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐานวิจัยตามปัจจัยส่วนบุคคลแบบ (One Way ANOVA)

           ผลการวิจัยพบว่า 1) พระภิกษุ สามเณรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีของพระภิกษุสามเณร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีต่อแรงจูงใจของพระภิกษุสามเณรในการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัยต่อการศึกษา ความต้องการประสบความสำเร็จจากการศึกษา ความต้องการทางสังคมมีต่อการศึกษา การได้รับการยกย่องจากการศึกษา และความต้องด้านร่างกายกับการศึกษาเรียงตามลำดับความสำคัญของแรงจูงในการเรียนบาลี 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นพระภิกษุสามเณรที่มีต่อต่อแรงจูงใจในการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ภาพรวม เพื่อหาค่า F-test จำแนกตามสถานภาพ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และบาลี พบว่า พระภิกษุสามเณรมีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ไม่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าพระภิกษุ สามเณรมีสถานภาพ อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และบาลี ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจของพระภิกษุสามเณรในการเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระธรรมปัญญาภรณ์. (1994). ประวัติความเป็นมาของสำนักเรียนวัดปากน้ำพุทธศักราช 2549. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ หจก. สตาร์กรุ๊ป
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรมฉบับปรับขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมนัส ธมฺมรโต (มีมณี). (2553). ศึกษาวิธีสร้างแรงจูงใจจากพุทธวิธีการสอน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธวัชชัย รสเลิศ. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของสำนักเรียนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). (2551). คนสำราญงานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
พระมหาสรพงษ์ การุญ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีกรณีศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วัดตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระมหาอานนท์ ชยานนฺโท (เหล็กดี). (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศันสนีย์ ภู่พงศ์พัฒนา. (2547). แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสาธิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนามหลวงแผนกบาลี. (2556). เรื่องสอบบาลีของสนามหลวงแผนกบาลีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค: “สัมปสาทีนยกถา”. กรุงเทพมหานคร.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2530). การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักเรียนวัดเทพลีลา. (2548). สำนักเรียนวัดเทพลีลากับการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม: อนุโมทนากถา. กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28