การศึกษากระบวนการโค้ชด้วยหลักพุทธธรรมของครูพี่เลี้ยงในโรงเรียน ร่วมพัฒนาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • สมหมาย ปวะบุตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ระวิง เรืองสังข์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการโค้ชด้วยหลักพุทธธรรม, ครูพี่เลี้ยง, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการโค้ชของครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู 2) สร้างกระบวนการโค้ชด้วยหลักพุทธธรรมของครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู 3) ศึกษาผลการใช้กระบวนการโค้ชด้วยหลักพุทธธรรมของครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบศึกษาเอกสาร และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก คณบดีคณะครุศาสตร์ ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 10 คน และการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน (2) การวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดสภาพปัจจุบันและปัญหาการโค้ชจากครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู จำนวน 381 คน โดยการสุ่มแบบหลาย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และดัชนีค่าความต้องการจำเป็น

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการโค้ชด้วยหลักพุทธธรรมของครูพี่เลี้ยง คือการประเมินผลการโค้ช ดังนั้น โค้ชควรสะท้อนคิดและให้ข้อมูลย้อนกลับจากการประเมิน เพื่อสร้างกำลังใจ เปิดโอกาสให้ผู้รับโค้ชสอบถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ 2) กระบวนการโค้ช ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) เป้าหมายของการโค้ช (2) หลักพุทธธรรมในการโค้ช (3) ทักษะการโค้ชของโค้ช (4) กัลยาณมิตรการโค้ช (5) พุทธวิธีการโค้ช ได้นำเทคนิคและสีลาการสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นแบบอย่างในการโค้ช มีอยู่ 4 ประเภท คือ 1. สันทัสสนา (ชี้ให้ชัดชี้) 2. สมาทปนา (ชวนให้ปฏิบัติ) 3. สมุตเตชนา (เร้าให้กล้า) 4. สัมปหังสนา (ปลุกให้ร่าเริง) 3) ผลการวิจัย พบว่า ครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีสมรรถภาพความเป็นครู หลังใช้กระบวนการโค้ชด้วยหลักพุทธธรรมของครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูสูงกว่าก่อนใช้กระบวนการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Boonchom, Si Sa-at. (2010). Preliminary research. (8th edition). Bangkok: Suwiriyasarn.
Burn, N. & Grove, S. K. (2001). The Practice of nursing research: Conduct, critique & Utilization. (4thed.). Philadelphia: W.B. Saunders.
Chong, S., Ee L., L. & Kim, C. G. (2011). Emerging professional teacher identity of pre-service teachers. Australian Journal of Teacher Education. 36(8): 50-64.
Erawan, P. (2011). A path analysis for factors affecting pre-service teachers’ teaching efficacy. American Journal of Scientific Research. Retrieved March, 2020, from http://www.eu rojournals.com/ajsr.htm.
Jaruariyanon, W, (2014). The Model for Management of Teacher Professional Experience Training to Develop the Modern Teachers’ Quality. Bangkok: Journal of Education, 42(2): 104-116.
Patphol, M, (2019). Focus Group Discussion Dissertation, Coaching Process Building Based on Buddhadhamma Principles of Teacher Trainers in Teaching Professional Development Partnership Schools. At Faculty of Education, Mahachulalongkorn rajavidyalaya University. Sunday, December 1, 2019.
Phra Dhammakittimethi, (2019). Focus Group Discussion Dissertation, Coaching Process Buiding Based on Buddhadhamma Principles of Teacher Trainers in Teaching Professional Development Partnership Schools. At Faculty of Education, Mahachulalongkorn rajavidyalaya University, Sunday, December 1, 2019.
Sanhachawi, A. (2012). Some Ideas from a Study Tour in Finland. Bangkok: Journal of Teacher’s Professional Development. 111(8): 89-90.
Srichan, B, (2017). Cognitive Peer Coaching Model for Promoting Instructional Competency of Teacher to Enhance Metacognition of Students in Bangkok Metropolitan Administration. Ph.D. Dissertation. Silpakorn University.
Suwannapha, C., Woowong, O., Attawong, P. (2011). Professional Experiences Training in Education of Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus. Research Report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Phrae Campus.
Thienngam, S., Khajornsin, B. (2013). Factors Affecting the Teacher’s Desirable Characteristics of Pre-Service Teacher at Rajabhat University: A Multilevel Structural Equation Model Analysis. Nakhon Pathom: Educational Research Journal. 5(1): 212-225.
Wongvanit, S. (2015). Needs assessment research. Bangkok: V. Print (1991) Company Limited.
Yamane, T, (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Thirdeditio. Newyork: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28