ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุวิมล ทองจำรัส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สจีวรรณ ทรรพวสุ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทักษะผู้บริหารสถานศึกษา, ทักษะในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. 2) เปรียบเทียบทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 302 คน จากจำนวน 119 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ทักษะการสร้างทีมงาน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการสื่อสาร 2) การเปรียบเทียบทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีทักษะการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เข้าใจจุดมุ่งหมายขององค์กร มอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถศักยภาพของแต่ละบุคคล เน้นบริหารแบบประชาธิปไตย สร้างขวัญและกำลังใจ มีทักษะการแก้ปัญหาที่มีความหนักแน่น ความยืดหยุ่น การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาโดยอาศัยประสบการณ์  มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ที่ต้องเปลี่ยนมุมมอง คิดนอกกรอบ เป็นทั้งนักแก้ปัญหา นักปรับปรุงงาน นักสอนงาน และนักคิด มีทักษะการสื่อสารต้องที่ชัดเจน เพิ่มช่องทางในการสื่อสารโดยอาศัยเทคโนโลยีและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาที่สามในชีวิตประจำวัน และมีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมต้องเปิดใจกว้างยอมรับเทคโนโลยี มีความทันสมัย เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีและมีการศึกษาดูงานการพัฒนานวัตกรรมจากหน่วยงานที่เป็นต้นแบบ

References

ชาญชัย อาจินสมาจารย์. (2548). ทักษะการบริหารทีมงาน. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ต.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เดือนเพ็ญ บุญใหญ่เอก. (2557). การบริหารการจัดการศึกษาในศตวรรษที่21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ธีระ รุณเจริญ. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่างการพิมพ์.
พรทิพย์ พลประเสริฐ และรัชฏ สุวรรณกุฏ. (2559). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยนครพนม, 1258-1264.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2545). ภาวะผู้นำและทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 4. เอสแอนด์กราฟฟิค.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2555). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษายุคไร้พรหมแดน. ค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561,จาก http://www.academia.edu/4001681.
วีระชัย จิบทอง. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนพรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีระพล สุวรรณนันต์. (2534). กระบวนการแก้ปัญหา.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรพัฒนา.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจํากัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2553). ผู้บริหารโรงเรียน: บทบาทและความท้าทายในยุคปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2555). ถึงเวลาปฏิวัติการสอนความท้าทายของครูในศตวรรษที่ 21 สรุปการเสวนาหัวข้อโลกเปลี่ยนการบริหารจัดการที่ท้าทายของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา” ในงาน EDU2012. กรุงเทพฯ: ประชาชาติธุรกิจ.
เอกชัย อภิศักดิ์กุลและทรรศนะ บุญขวัญ. (2549). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28