การพัฒนาทักษะการเรียนการสอนพระอภิธรรม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาครรชิต อติภทฺโท (สุระมณี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครู กิตติญาณวิสิฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะ, การเรียนการสอน, พระอภิธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนพระอภิธรรม สำนักเรียนพระอภิธรรมกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาการพัฒนาทักษะการเรียนการสอนพระอภิธรรม สำนักเรียนพระอภิธรรม กรุงเทพมหานคร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนการสอนพระอภิธรรม สำนักเรียนพระอภิธรรม กรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนพระอภิธรรมจำนวน 297 รูป/คน ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้บริหารหน่วยบริการพระอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย จำนวน 7 รูป โดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนพระอภิธรรมของแต่ละสำนักเรียนพระอภิธรรมกรุงเทพมหานคร บางสำนักเรียนขาดทักษะกระบวนการใช้วิธีการสอนแบบบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนที่เรียนรู้พระอภิธรรม 2) นักเรียนพระอภิธรรมมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะการเรียนการสอนพระอภิธรรม กรุงเทพมหานคร ภาพรวม และรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ทักษะด้านการสอน ทักษะด้านเทคนิคการสอน ทักษะด้านการจัดกิจกรรมการสอนและทักษะด้านการใช้สื่อการสอน ตามลำดับความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนพระอภิธรรมของแต่ละสำนักเรียน 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนการสอนพระอภิธรรม ด้านการสอนควรใช้ทักษะการสอนอย่างมีความหลากหลาย ด้านเทคนิคการสอนควรมีการอบรมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านนวัตกรรมแก่ครูอาจารย์ทุกท่าน ด้านการใช้สื่อการสอนควรจัดหาสื่อการเรียนการสอนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสอน และด้านการจัดกิจกรรมการสอนจัดหาวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการสอนเพื่อบูรณาการการเรียนรู้พระอภิธรรมแก่นักเรียนในศตวรรษที่ 21

References

กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2543). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการบริหาร คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ชารี มณีศรี. (2538). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ทิพย์สุนี จันทร์ประภาพ. (2541). การศึกษาพระอภิธรรมกับการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเอง: กรณีศึกษาของนักศึกษาพระอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท (นิ่มเนียม). (2561). การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิทูร มลิวัลย์ และไสว มาลาทอง. (2544). ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 1-17.
ระวี ภาวิไล. (2536). อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสารแสง จันทร์งาม และคนอื่นๆ. (2539). พระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน เล่ม 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนพานิช.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2552). คำบรรยายพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม.
สิริวัฒน์ คำวันสา (2541). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. (2561). สถิติการวัดผลและประเมินผลการศึกษาภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2561. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
อมรรัตน์ จินดา. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2. รายงานวิจัย. สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(1) ปีที่ 9, 395-407.
อาภรณ์ ใจเที่ยง.(2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28