การพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานในประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียน
คำสำคัญ:
ศูนย์ซ่อมอากาศยาน, ศักยภาพ, ศูนย์กลางของอาเซียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคอาเซียน 2) เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างให้ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการซ่อมอากาศยานของไทยในภูมิภาคอาเซียน และ 3) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการซ่อมอากาศยานในภูมิภาคอาเซียน อันจะสนองตอบต่อเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากแนวความคิด ทฤษฎี หลักการ รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกับการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซ่อมอากาศยาน และโลจิสติกส์ แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาทำการวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า การที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซ่อมอากาศยานในอาเซียน จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ อันประกอบด้วย 1) การผลิตและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมอากาศยานอย่างเป็นระบบ 2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น การสร้างการวิจัยและพัฒนา 3) การจัดตั้งห้องทดลองทางอากาศพลศาสตร์ และอุตสาหกรรม
อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ร่วมกับอุตสาหกรรมการซ่อมอากาศยาน 4) การจัดหาวงเงินให้ผู้ประกอบการได้นำมาใช้หมุนเวียนในอุตสาหกรรมซ่อมอากาศยาน 5) การกำหนดให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมซ่อมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ โดยส่งเสริมให้ส่วนราชการและวิสาหกิจเอกชนให้ความสนใจ
References
กระทรวงคมนาคม. (2555). โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและศูนย์ซ่อมอากาศยาน. กรุงเทพ:อัดสำเนา.
ณัฐิยา ศุภนิรัติศัย. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่องานบริการของสำนักงานเขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ภาพรวมเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, จากhttps://www.kasikornbank.com/th/IR/ShareholderServices/Publications/00-SHD-19-TH-All-Page-Final.pdf
สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559). การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมอากาศยาน. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www..sciencepark.or.th/documents/news/ autopart_2016
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.mot.go.th/mot_strategy/index.php.
สิทธิพงศ์ ธนิตยวงศ์. (2543). การพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
Miles, MB. & Huberman, AM. (1994). Qualitative Data Analysis. (2nd edition). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว