การพัฒนาการส่งเสริมความสุขตามหลักพุทธธรรมของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชลตวรรณ ขุมเพ็ชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ระวิง เรืองสังข์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบ, การส่งเสริมความสุข, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการส่งเสริมความสุขตามหลักพุทธธรรมของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารสถานศึกษา การสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

            ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบการส่งเสริมความสุขตามหลักพุทธธรรมของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านปัจจัยป้อนเข้า มีองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ คือ
(1) สภาพแวดล้อมการทำงาน (2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (3) ค่าตอบแทน (4) คุณลักษณะงาน (5) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2) กระบวนการส่งเสริมความสุข มีองค์ประกอบย่อย 6 องค์ประกอบ (1) การสร้างศรัทธาต่อความสุข (2) เปิดโลกทัศน์ความสุข (3) เปิดโอกาสในการพัฒนาองค์ประกอบของความสุข (4) ประสานงานในการสร้างความสุข (5) สร้างดัชนีความสุขในที่ทำงาน 3) ปัจจัยป้อนออก คือ ครูมีความสุขทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย จิต สังคม จิตวิญญาณ (ปัญญา) 4) ข้อมูล ป้อนกลับ คือการดำเนินงานส่งเสริมความสุขในการปฏิบัติงานของครู 5) สภาพแวดล้อม คือ ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยี

References

ก้านทอง บุหร่า. (2560). องค์กรแห่งความสุข: แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(3): 169-176.

การเกด อนันต์นาวีนุสรณ์. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดองค์การ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บุ๊ค พอยท์.

. (2553). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บุ๊คพอยท์.

ชยภัทร หอมทอง. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา. (2560). การสร้างสรรค์ความสุขของครูผู้สอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 2 (2): 190.

ธารณ์ ทองงอก. (2558). ความสุขและความต้องความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญจง ชวศิริวงศ์. (2550) ความสุขในที่ทำงาน (Happy Workplace). วารสารพัฒนาสังคม. 9 (2):61–63.

ปฐม นิคมานนท์. (2529). การวางแผนและการประเมินโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมการศึกษานอกระบบแห่งประเทศไทย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2550). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การวิจัยการทดลองตัวแบบการพัฒนาครูแบบอิงพื้นที่เป็นฐานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาครู. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2557). สรุปติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักการศึกษา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2554). Happy Workplace มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก http://resource.thaihealth.or.th/ media/thaihealth/12916#0

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2554). คู่มือความสุข 8 ประการในที่ทำงาน HAPPY WORK PLACE. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content/20757.html

สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

อรชา ประสาทชัย. (2560). แนวทางการพัฒนาความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Bertalanffy, L. V. (1968). General Systems Theory. New York: George Braziller.

Bittel, L. R.. (1980). Encyclopedia of Profession Management. New York: McGraw-Hill.

Manion, J., (2003). Joy at work: creating a positive work place. Journal of Nursing Administration. 33(12): 652-655.

Rego, A. and Cunha, M.P.. (2008). Workplace Spirituality and Organizational Commitment: An Empirical Study. Journal of Organizational Change Management, 21: 53-75.

Schoderbek, P. P., Schoderbek, C. G. and Kefalas, A. G. (1990). Management Systems: Conceptual Consideration. Boston: Richard D. Irwin.

Smith Smith, A. W.. (1982). Management Systems: Analysis and Application. New York: The Dryden Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15