การบริหารจัดการเครือข่ายของพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิวัต ฌาเนสโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาเผด็จ จิรกุโล มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, เครือข่าย, พระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเครือข่ายของพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ และ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเครือข่ายของพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การแจกแบบสอบถามพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส 74 รูป ด้วยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) (1970, pp. 607-610) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารจัดการเครือข่ายของพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ การบริหารจัดการเครือข่ายของพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีพิจารณารายเป็นด้าน พบว่า ด้านการปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในอันดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการศึกษา ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณสงเคราะห์ ตามลำดับ
  2. การบริหารจัดการเครือข่ายของพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ การบริหารตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ครบถ้วนดีทุกประการ อย่างไรก็ตามได้พบปัญหาอุปสรรคในงานแต่ละด้าน ในลักษณะภาพรวม 1. หลักการ พัฒนาการมีส่วนร่วม ให้เกิดความเข้มแข็ง ทั้งระหว่างสมาชิกภายในและภายนอกองค์กร พัฒนาความมั่นคง ให้คณะสงฆ์ไทยดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน 2. เป้าหมาย สร้างความเป็นเอกภาพของคณะสงฆ์ไทย ไม่แบ่งแยกนิกาย หรือ สายปฏิบัติ ยึดหลักการเป็นเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน 3. จุดมุ่งหมาย มุ่งสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่กิจการคณะสงฆ์ 6 ด้าน ได้แก่ 1) เครือข่ายด้านการปกครอง 2) เครือข่ายด้านการศาสนศึกษา 3) เครือข่ายด้านการศึกษาสงเคราะห์ 4) เครือข่ายด้านการเผยแผ่ 5) เครือข่ายด้านการสาธารณูปการ และ 6) เครือข่ายด้านการสาธารณสงเคราะห์

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาจุฬาลง-กรณราชวิทยาลัย.

การเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรป. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562, จาก https://www.bloggang.com/.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพลส.

คณึงนิตย์ จันทบุตร. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจวัด ศึกษาเฉพาะกรณี วัดป่านานาชาติบ้านมุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.

ถนัด เดชทรัพย์. (2550). การบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ตามหลักธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์ รป.ม. อุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ประยูร อัครบวร. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาโพธิวงศาจารย์. (2558). มุมมองการพัฒนาวัดไทยในสหภาพยุโรปในปัจจุบันและอนาคต. วารสารสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป (ส.ธ.ย.). ฉบับที่ 2 (กันยายน): 40-49.

พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, (2559). รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหารสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รายชื่อวัดไทยในต่างประเทศ.ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562, จาก http://www.utse.eu/uploads/ 2/5/8/6/25865598/.

สมประสงค์ ปิวไธสง. (2554). การพัฒนาการบริหารนโยบายสุขภาพของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านจัดการสุขภาพอำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. รัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2546). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสรี พงศ์พิศ. (2548).วัฒนธรรมองค์การของโลกยุคใหม่ เครือข่าย ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

แสงสูรย์, (2558). พระธรรมทูตไทยกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปยุคปัจจุบัน. วารสารสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป (ส.ธ.ย.). ฉบับที่ 2 (กันยายน): 58-66.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3): 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08