ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, เทศบาลตำบลศาลายาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำ การวางแผน การประสานงานโครงการบริหาร และการประเมินผล และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลตัวแทนครัวเรือนภายใต้การบริหารจัดการของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 379 ครัวเรือน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์สมมติฐานโดยใช้สถิติ และการวิเคราะห์ถดถอย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำ การวางแผน การประสานงานโครงการบริหาร และการประเมินผล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ภาวะผู้นำ การประเมินผล การวางแผน และการประสานงานโครงการบริหาร ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านสังคม รองลงมาคือ ด้านการบริหาร ด้านสาธารณสุข มีด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ ผู้บริหารเทศบาลต้องมีการพัฒนาภาวะผู้นำ มีกระบวนการวางแผนงานในโครงการต่าง ๆ ร่วม มีเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการประสานงานของบุคลากรภายในและภายนอกเทศบาล มีการพัฒนาโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน อีกทั้งมีการกำกับดูแลโครงการต่าง ๆ มีการประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และนำมาแก้ไขข้อบกพร่องการบริหารจัดการ เพื่อการบริหารจัดการเทศบาลตำบลศาลายาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นไปในอนาคต
จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอต่อผู้บริหารของเทศบาลนำไปกำหนดนโยบายในการพัฒนาการบริหารจัดการเทศบาลให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
References
กิตติศักดิ์ แพรวพรายรัตน์. (2553). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ .(2556). ประสิทธิภาพการบริหารงาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2554). การบริหารงานบุคคลในภาครัฐ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ติน ปรัชญาพฤทธิ์. (2552). การพัฒนาองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
ทองสอน พูลเพิ่ม. (2556). ศักยภาพในการบริหารงานของเทศบาลที่ได้รับการยกฐานะ จากองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เทศบาลตำบลศาลายา. (2562). รายงานผลการดำเนินการประจำปี 2561. นครปฐม: กรมการปกครองสวนท้องถิ่น.
ปรีชา คัมภีรปกรณ์. (2550). การวางแผนด้านบุคลากร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภัทริน หนูเจริญ. (2553). การบริหารงานของเทศบาลตำบลเวียงเทิงกับความคาดหวังของประชาชน. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ระพี แก้วเจริญ. (2550). การแบ่งเวลาปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในระดับบริหารอาวุโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนัก นายกรัฐมนตรี.
วุฒิสาร ตันไชย. (2550).การขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญ 2550 สู่การปฏิบัติ:กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่น. ในเอกสารสัมมนาทางวิชาการ.ระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2550 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สมิต สัชฌุกร. (2550). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สัมฤทธิ์ สุขสงค์. (2545). ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.(สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา) สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.
สุรัสวดี ราชสกุลชัย. (2550). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Owens. (2001). Sociology after Postmodernism. London, Thousand Oaks, New Delhi: Sage Publication.
Taro Yamane. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว