การมีส่วนร่วมของประชาชนและสมาชิกในการดำเนินงาน กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลนครนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • มาลาวรรณ สังข์ตระกูล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, กองทุนสวัสดิการ​ชุมชน, เทศบาลนคร​นนทบุรี

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการมี​ส่วนร่วม​ของประชาชนและสมาชิกในการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลนครนนทบุรีต่อความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสมาชิกในชุมชน และ 2) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและสมาชิกต่อการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลนครนนทบุรี​ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ​ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ท่าน ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการ​ชุมชน​เทศบาลนคร​นนทบุรี ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารเทศบาลและหัวหน้าส่วนราชการเทศบาลนครนนทบุรี ประธาน คณะกรรมการและ​สมาชิกกองทุนสวัสดิการ​ชุมชน​เทศบาลนคร​นนทบุรี และประชาชนที่อาศัยอยู่หรือทำงานให้กับชุมชนภายในเทศบาลนครนนทบุรี เครื่องมือใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลแบบสามเส้า

               ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนและสมาชิกมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน ส่วนกระบวนการร่วมปฏิบัติและการจัดสรรผลประโยชน์จะมีเพียงในส่วนของสมาชิกที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ สมาชิกจะยังไม่มี   ส่วนร่วมในกระบวนการร่วมติดตามประเมินผลตราบใดที่สมาชิกยังคงได้รับเงินสวัสดิการตามระเบียบ อย่างไรก็ตาม เรื่องผลประโยชน์ของกองทุนยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสมาชิกเท่าที่ควร​ 2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและสมาชิกต่อการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการ​ชุมชน​ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เชิงรุก จัดประชุมประชาคม และอบรมให้ความรู้ เพิ่มภาคีเครือข่าย จัดทำเกณฑ์วัดผลการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมและสนับสนุนทุกด้าน ตลอดจนประเมินความคิดเห็นของประชาชน-เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ​ประชาชน​ในทุก​กระบวนการการมีส่วนร่วมและให้การดำเนินงานกองทุนสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

References

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, และคณะ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540: ปัญหา อุปสรรค และทางออก. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นราธิป ศรีราม. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บำรุง จัดพ่วง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชน เทศบาลนครนนทบุรี ประจำปี 2563. ดำเนินการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 2 สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563, จาก http://www.dla.go.th/ work/planlocal/กฎหมาย%20ระเบียบ/พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่%20อปท.%20พ.ศ.2542%20pdf.pdf

รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2557). แนวคิดและหลักการบริหารท้องถิ่น. ในประมวลสาระชุดวิชาการบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมปอง นิยะนันท์. (2555). การบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลซำสูง อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). ดาวน์โหลดจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2562 ระดับตำบล. ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563,จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/file/62/ stat_t62.xlsx.

Fitzsimons, A., Hope, M., Cooper, C. and Russell, K.. (2011). Empowerment and Participation in Youth Work. Exeter: Learning Matters.

Scolum, R., Wichhart, L., Rocheleau, D., and Thomas-Slayter, B.. (1995). Power, Process and Participation-Tools for Change. London: Intermediate Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-23