ความสัมพันธ์และรูปแบบของระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • อิทธิศักดิ์ วรกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ระบบอุปถัมภ์, การเมืองท้องถิ่น, นักการเมืองถิ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะกลุ่มและอำนาจทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัดอ่างทอง
และ ศึกษาการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการเมืองของจังหวัดอ่างทอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร ศึกษาข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์ทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 55 คน แบ่งเป็นสามฝ่าย คือ ฝ่ายข้าราชการการเมือง จำนวน 20 คน
ฝ่ายข้าราชการประจำ จำนวน 15 คน และฝ่ายประชาชนในพื้นที่จำนวน 20 คน

         ผลการวิจัยพบว่า การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทองมีการกระจุกตัวของอำนาจอยู่ที่กลุ่ม ๆ เดียว ที่ใช้ชื่อว่า กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกของกลุ่มชนะการเลือกตั้งในการเมืองท้องถิ่นและเข้ามาบริหารบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์จากอดีตนักการเมืองระดับชาติ ผู้ซึ่งยังคงมีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดอ่างทองอยู่ และเมื่อสมาชิกของกลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดนี้จะต้องตัดสินใจในการบริหารบ้านเมือง ก็จะมีผลต่อการเอื้อผลประโยชน์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม จึงทำให้เห็นว่าระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดอ่างทองมีความเข้มข้นและเป็นปึกแผ่นมาเป็นระยะเวลายาวนาน ผลของการศึกษาวิจัยฉบับนี้ ทำให้เห็นถึงรูปแบบของการเมืองไทยที่มีระบบอุปถัมภ์เป็นพื้นฐานของโครงสร้างทางการเมือง รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคลที่เป็นเสมือนเครือญาติที่สนิทชิดเชื้อ ซึ่งส่งผลไปถึงการเมืองในทุก ๆ ระดับ ไม่เว้นแม้กระทั่งการเมืองในระดับท้องถิ่น สามารถสรุปประเด็นในเรื่องผลประโยชน์ที่ได้เป็น 3 ด้านได้แก่ผลประโยชน์เชิงบุคคล เชิงนโยบายสาธารณะและเชิงพานิชย์

References

จุมพล หนิมพานิช. (2545). กลุ่มผลประโยชน์กับการเมืองไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.

ธีรยุทธ บุญมี. (2533). ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย. อ้างใน เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมและวัฒนธรรมไทย. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2561). การจัดการความขัดแย้งในการบริหารงานส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บูฆอรี หยีมะ. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2539). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2550). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพันธุ์ สุวรรณยุหะ. (2535). การรักษาอำนาจของกลุ่มการเมืองในระบบการเมืองท้องถิ่นไทย: ศึกษากรณีกลุ่มการเมือง “พลังสังคม” ในเทศบาลเมืองสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเชษฐ์ เนียมทัง. (2538). ลักษณะและพัฒนาการของกลุ่มการเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ.2517-2537. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2557). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มาตาการพิมพ์.

อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธ์. (2538). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิงขนิษฐ ศิรินภาพันธ์. (2538). แนวโน้มการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ 12 พฤศจิกายน 2538: ศึกษากรณีแขวงเม็งราย. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

French, J. R. P., Jr., & Raven, B. (1959). Bases of Social Power. Journal of Applied Psychology, 74(4): 561-567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25