ความพึงพอใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สหวิทยาเขตวังทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การประเมินผลการปฏิบัติงาน, ข้าราชการครู, สหวิทยาเขตวังทองหลางบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการครู สหวิทยาเขตวังทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจ การประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการครู สหวิทยาเขตวังทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยจำแนกตามประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู สายงานการสอน โรงเรียนในสหวิทยาเขตวังทองหลาง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 248 คน โดยการแบ่งกลุ่มประชากรตามสัดส่วนเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตวังทองหลาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) .939 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าความแปรปรวน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจของข้าราชการครู สหวิทยาเขตวังทองหลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ด้านลักษณะของงาน และด้านความสำเร็จในการทำงาน 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน และข้าราชการครูที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05
References
กรวิภา ดวงปัญญารัตน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายบริการ มหาวิทยาลัยพะเยา (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ขวัญสุดา ขันแก้ว. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก อำเภอแม่สะเรียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
เจริญพร เรืองอ่อน. (2551). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูผู้สอน สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดนัย เทียนพุฒ. (2551). บริหารคนในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
ภัทรกร เก่งขวัญ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
อรสิริ วามะขันธ์. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen, L., Minion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7thed.). New York: Routledge.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Son.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว