การเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • กมลทิพย์ ศิริสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อินทิรา รอบรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนภาษาไทย, กลวิธีอาร์ อี เอ พี, การอ่านเพื่อความเข้าใจ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการเรียนการสอนตามกลวิธีอาร์ อี เอ พี ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการเรียนการสอนตามกลวิธีอาร์ อี เอ พี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนวัดดาวโด่ง (เอิบวิทยาคม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยกลวิธี อาร์ อี เอ พี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบทดสอบความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

                ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการเรียนการสอนตามกลวิธีอาร์ อี เอ พี เมื่อพิจารณาแล้วพบว่านักเรียนมีผลความสามารถในการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กมลพัทธ์ โพธิ์ทอง. (2554). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยใช้กลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่ มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพียรศิลป์ ปินชัย. (2553). การใช้กลวิธีการอ่านแบบ อาร์อีเอพี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ และทักษะคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อุทัย ภิรมรื่น. (2561). ภาษาศาสตร์และการการอ่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Albee, J. (2002). The effect of R E A P exchange on complex thinking of undergraduate student in children’s literature courses (Research report). United States: University of Missouri Kansas City.

Eanet, M.G. and Manzo, A.V. (1976). REAP - A Stategy for improving reading writing study skills. Journal of Reading, 19, 647-652.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-24