การสร้างความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พระปลัดกล้าณรงค์ ญาณวีโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาเผด็จ จิรกุโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างศรัทธา, พุทธศาสนิกชน, ทวีปยุโรป, ต่างประเทศ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ 2) เพื่อสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 7 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การแจกแบบสอบถามพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ ในทวีปยุโรป จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในประเทศ พบว่า การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ พบปัญหาอุปสรรคในงานแต่ละด้าน ในลักษณะภาพรวม 4 ด้าน คือ (1) ด้านพระธรรมทูต (2) ด้านการเทศน์สอน (3) ด้านสื่ออุปกรณ์การสอน (4) ด้านกิจกรรมทางศาสนา 2) การสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในประเทศ มี 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการวางแผนกิจวัตรกิจกรรม (Practice an  Activity) (2) ด้านการพัฒนาปรับปรุงความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ (Global Merit 5) (3) ด้านการเรียน ตอบปัญหาธรรมะ (Learning Dharma) และ (4) ด้านการเป็นกัลยาณมิตร (Act Like a True Friend) เป็นการสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในประเทศ ที่ดี

References

ข่าววัดสระเกศ. ชาวไวกิ้งนับถือพระพุทธศาสนาในยุคไวกิ้ง. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562, จากhttps://www.watsrakesa.com/content/12077/

จันทิมา พูลทรัพย์. (2558) ปัจจัยการตัดสินใจในการทำบุญของพุทธศาสนิกชน วัดจำปา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธรรมะไทย (2563). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จาก http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/index.php

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2526). พระสูตรและอรรถกถา แปลอังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต. กรุงเทพฯ: เฉลิมชาญการพิมพ์.

สุมณฑา คณาเจริญ. (2548). ศรัทธาในพระพุทธศาสนา. วารสารวงการครู, 2(18), 98-101.

สุรัตน์ พักน้อย. (2561). ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาในมุมมองของพุทธศาสนิกชนชาวไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 636-653.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-18