บทบาทของรัฐในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทยกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

ผู้แต่ง

  • วาระชัย เล่งสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ทิพรัตน์ บุบผะศิริ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกรียงชัย ปึงประวัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทของรัฐ, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ, การพัฒนา

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาทของรัฐในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาคเอกชน และนักวิชาการ โดยนำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ และแนวคิดด้านกฎหมายและนโยบายของรัฐที่มีต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นกรอบในการวิจัยในครั้งนี้

              ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจ เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตและมีความเกี่ยวเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะพระราชวงศ์ไทยมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างความใกล้ชิดสนิทสนมในหมู่ประชาชนไทย-ลาว ซึ่งภาครัฐมีการใช้กลไกความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ผลักดันความร่วมมือให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 2) ปัญหาและอุปสรรค (1) การแข่งขันและการลอกเลียนแบบสินค้าไทยจากประเทศคู่แข่งที่ผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ (2) ขนาดตลาดเล็ก ทำให้อำนาจการซื้อต่ำ ไม่คุ้มการลงทุน (3) คุณภาพแรงงานและทัศนคติในการทำงานของแรงงานชาวลาว (4) พิธีการและเอกสารทางการค้าที่สลับซับซ้อน ยืดยาว และไม่โปร่งใส และ (5) มีการลักลอบนำเข้าสินค้าข้ามแดน 3) ภาครัฐควรมีบทบาทผลักดัน ส่งเสริม และการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทยที่ไปลงทุนใน สปป.ลาว เพื่อพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดนและผ่านแดน ตลอดจนผลักดันและเร่งรัดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นรูปธรรม เพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทยกับเขตเศรษฐกิจพิเศษของสปป.ลาว อันจะนำไปสู่ประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด

References

ทิพรัตน์ บุบผะศิริ. (ม.ป.ป.). หน่วยที่ 2 อาเซียนเบื้องต้น. ใน เอกสารการสอนประจำชุดวิชาอาเซียนเบื้องต้น. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563, จาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/ TB-82327-2.pdf

ธนวัฒน์ พิมลจินดา. (2552). องค์กรเหนือรัฐและองค์กรระหว่างรัฐบาล: จากทฤษฎีสู่กรณีเปรียบเทียบ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563, จาก http://www.midnightuniv.org/midnighttext/0009999773.html

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). สปป.ลาว, AEC PLUS Handbook. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561, จาก http://askkbank.com/WhatsHot/Documents/Loas.pdf

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน). (2561). การพัฒนาการค้าระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนประเทศกำลังพัฒนาสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs): กรณีศึกษากลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS). กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).

สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่. (2560). การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักวิชาการ. (2557). ภูมิภาคนิยมกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Business Dictionary. (2019). trade policy. Retrieved February 12, 2019, from http://www.busi nessdictionary.com/ definition/trade-policy.html

Economy Watch. (2019). Trade Policy. Retrieved February 12, 2019, from http://www.economy watch.com/international-trade/trade-policy.html

Mattelart, A. (2000). Networking the World, 1794-2000. Minneapolis, Mn.: University of Minnesota Press.

Thomas, G. M. (2007). Globalization: The major players. The Blackwell companion to globalization, 84-102. Blackwell Publishing Ltd.

Schiff, M. & Winters, L. A. (2003). Regional Integration and Development. Washington, D.C.: The World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17