การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอย่างสมดุลของ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4

ผู้แต่ง

  • ประทีป ไชยเมือง โรงเรียนพรตพิทยพยัต

คำสำคัญ:

คุณลักษณะนักเรียน, การประเมินโครงการ, บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินกิจกรรม และผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอย่างสมดุลของโรงเรียน บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 และประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียน อย่างสมดุลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่โรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 439 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงและการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

               ผลการวิจัยพบว่า โครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอย่างสมดุลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) 4 ในภาพรวมทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินเป็นอันดับแรกและมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ รองลงมาคือ ด้านบริบทของโครงการ และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ ตามลำดับ ส่วนด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินเป็นอันดับสุดท้ายเท่ากัน และผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอย่างสมดุลของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาสน์.

ประภัสสร เผือกคเชนทร์. (2555). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปริญญา มงคลคูณและคณะ. (2555). การประเมินโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณของโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พีรพัฒน์ วัชรินทรางกูร. (2559). การประเมินโครงการสร้างนักเรียน สร้างสังคม สู่ความพอเพียง: ประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ (รายงานการวิจัย). โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์.

มาลัยรัตน์ สุขกาว. (2562). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลตรัง (รายงานการวิจัย). โรงเรียนอนุบาลตรัง.

ลาวัลย์ พิชญวรรธน์. (2555). โมเดลโค้งพัฒนาการเหลื่อมลำดับที่มีตัวแปรแฝงของเยาวชนเชิงบวก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). รูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). รายงานการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนภาคกลาง ในปี 2557-2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรพล บุญมีทองอยู่. (2552). ความสนใจต่อวิธีเขียนเรียงความต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิชและคณะ. (2555). โครงการเร่งสร้างคุณลักษณ์ที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อนุชิต เชิงจำเนียร. (2555). การจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างคุณลักษณะคนดีของนักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อำนาจ จันทร์พางาม. (2561). รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต. (รายงานการวิจัย). โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต.

อำรุง จันทวานิช. (2545). แนวคิดการประกันคุณภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารข้าราชการครู, 19(3), 5-9.

Cronbach, L.J. (1987). Designing evaluation of educational and social programs. San Francisco: Jossey-Bass.

Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. John Wiley and Son, Ines.

Stufflebeam, D.L.et al. (1971). Education Evaluation and Decision-Making. Itasca, Illinois: Publishing.

Stufflebeam, D.L.et al. (1991). Education Evaluation and Decision-Making. Itasca, Illinois: Publishing.

Worthen B.R., Sanders, J.R. (1973). Educational evaluation: Theory and practice.CA: Wadsworth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-01