ความพร้อมรับการตรวจสอบได้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณี

ผู้แต่ง

  • ชวัลรัตน์ พิมพ์สอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นัทนิชา หาสุนทรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความพร้อมรับ, การตรวจสอบได้, กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง, หน่วยงานภาครัฐ

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพร้อมรับการตรวจสอบได้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษา กรมทรัพยากรธรณี 2) ระดับประสิทธิผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณี และ3) ความสัมพันธ์ที่ของความพร้อมรับการตรวจสอบได้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกับประสิทธิผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน นำด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ จำนวน 261 คน ผสมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 ท่าน ประกอบด้วยผู้บริหารที่มีอำนาจในการอนุญาตอนุมัติระดับสูง และกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมทรัพยากรธรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test Independent, F-test ANOVA ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญน้อยที่สุด และ การทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

           ผลการศึกษา 1) ความพร้อมรับการตรวจสอบได้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณี อยู่ในระดับมาก และ 2) ประสิทธิผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของกรมทรัพยากรธรณี อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ วุฒิการศึกษา ประเภทของการรับราชการ และความเกี่ยวข้องต่องานด้านการจัดซื้อจ้ดจ้าง ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพร้อมรับการตรวจสอบได้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประสิทธิผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างรายด้านทุกด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความพร้อมรับการตรวจสอบได้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐรายด้านทุกด้าน อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ณรงค์ฤทธิ์ เชื่อมาก และคณะ. (2551). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1(สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีรวัฒน์ ชูญาติ. (2552). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 2 (การค้นคว้าอิสระการบริหารการศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสาน.

เบญญาภา ญาโตปมา. (2558). การบริหารพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ราเมศ โภคสวัสดิ์. (2548). แนวทางการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถม ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2545). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ.2545-2549. กรุงเทพมหานคร: จิรรัชการพิมพ์.

สรรเสริญ พลเจียก. (2543). การปรับปรุงโครงสร้างด้านการปราบปรามการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. (ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Dubnick, M.J. (1981). Government Regulation: Advice and Analysis. Public Administration Review, 41(2), 286-292.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22 (140), 5-55.

Millet, J.D. (1954). Management in the Public Service. New york : Mc Graw Hill Book, Company.

Robert D. A. & Arrowsmith S. (2011). The WTO regime on government procurement : past, present and future. Cambridge: Cambridge University Press.

Romzek, B. (2000). Dynamics of Public Sector Accountability in an Era of Reform. International Review of Administrative Sciences, 66(1),21-44.

Romzek, B. S. & Dubnick, M. J. (1987). Accountability in the Public Sector: Lessons from the Challenger Tragedy. Public Administration Review, 47(3), 227-238.

UNITED NATIONS COMMISSION ON INTERNATIONAL TRADE LAW. (2014). Guide to Enactment of the UNCITRAL Model Law on Public Procurement. New York: United Nations.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24