แนวทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ขำพัด สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พยอม ธรรมบุตร สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยว, การบูรณาการอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย 2) วิเคราะห์      จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของในพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย 3) สร้างแนวทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย   โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดพิษณุโลก ทรัพยากรทางธรรมชาติ ทรัพยากรวัฒนธรรม ทรัพยากรมหกรรม ทรัพยากรกิจกรรม และทรัพยากรบริการ มีความโดดเด่นเฉพาะตัวเป็นอย่างมาก 2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของจังหวัดพิษณุโลก จุดแข็ง คือ มีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่ตั้งเหมาะสมเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือตอนล่าง มีโครงข่ายเชื่อมโยง กับทุกภูมิภาคของประเทศอินโดจีน จุดอ่อน คือ ขาดการประชาสัมพันธ์ พื้นที่เกษตรกรรมบางพื้นที่ยังเกิดอุทกภัยซ้ำทุกปี โอกาส คือ มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง และได้รับการสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง อุปสรรค คือ ธุรกิจท้องถิ่นถูกคุกคามโดยทุนต่างชาติ กฎและระเบียบไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ปัญหาความขัดแย้งระดับหน่วยงาน 3) ผู้วิจัยขอนำเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ TOWS Matrix

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2558 จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563,จาก https://mots.go.th/more_news_new. php?cid=492

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2558 จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563,จาก http://tourism2.tourism.go.th/home/

details/11/221/25767

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นาฏสุดา เซมนะสิริ. (2555). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สาขาส่งเสริมและธุรกิจเกษตร คณะเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พยอม ธรรมบุตร. (2546). แบบการตรวจสอบการศึกษาชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พยอม ธรรมบุตร. (2546). แบบการตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2556). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง/พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีทอง.

ภูษิต อินต๊ะ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบล

กื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งรดิศ เมืองลือ และพยอม ธรรมบุตร. (2560). แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(2), 162-181.

สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31