ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายขนส่งสาธารณะ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • สิรินทิพย์ ศรีสว่างวงศ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปิยะนุช เงินคล้าย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความร่วมมือ, นโยบายสาธารณะ, ขนส่งสาธารณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและลักษณะการจัดการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายขนส่งสาธารณะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความร่วมมือ 3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรค และ 4) นำเสนอแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายขนส่งสาธารณะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการวิจัยพบว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายขนส่งสาธารณะของจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่มีรูปแบบสัมปทาน ในลักษณะ BOO (Built-Own-Operate) ด้านลักษณะความร่วมมือ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1) มีส่วนร่วมโดยสมัครใจ (2) ภาครัฐมีบทบาทในการกำหนดนโยบายในลักษณะ Top-down (3) การใช้ทรัพยากรแบบพึ่งพากัน (4) การมุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะให้เชื่อมต่อการเดินทางทุกระบบขนส่งเข้าด้วยกัน (seamless connectivity) โดยผลักดันให้เป็น smart city ในอนาคต ในส่วนปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความร่วมมือ พบว่า (1) ทุกภาคส่วนมีวิสัยทัศน์มุ่งประโยชน์สาธารณะ (2) มีทัศนคติที่ดีต่อความร่วมมือ (3) ภาคเอกชนสมัครใจยื่นขออนุญาตประกอบกิจการ นำไปสู่ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ (4) ร่วมมือกันอย่างเป็นหุ้นส่วน (5) ดำเนินงานร่วมกันอย่างเปิดเผย (6) สร้างความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร (7) การสื่อสารแบบทางการและไม่ทางการ (8) การมีผลประโยชน์ร่วมในลักษณะ win-win ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า ภาครัฐแต่ละหน่วยงานเมื่อบูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันมักเกิดอุปสรรค การแก้ปัญหาล่าช้า ขาดมาตรการที่ชัดเจน และปัญหาในด้านการจัดสรรทรัพยากร สำหรับแนวทางการพัฒนา ภาครัฐควรกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในลักษณะเครือข่าย ให้เอกชนมีส่วนร่วมมากขึ้น, จัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข รวมถึงสนับสนุนช่วยเหลือด้านเงินทุน อีกทั้งการเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการต่าง ๆ เพื่อปราบปรามผู้ประกอบการที่ผิดกฎหมาย ในส่วนข้อเสนอแนะ หน่วยงานภาครัฐควรมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จัดให้มีเวทีสาธารณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ในลักษณะล่างขึ้นบนหรือ Bottom-up

References

กรมการขนส่งทางบก. (2561). กรมการขนส่งทางบกจับมือธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทขนส่ง จำกัด และ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เพิ่มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการขนส่งร่วมกำหนดมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการ.ให้บริการด้วยรถโดยสารขนาดเล็กที่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับความปลอดภัยและการให้บริการด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2563, จาก https://www.dlt.go.th/th/publicnews/view.php?_did=2088

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Agranoff, R, & McGuire, M. (2003). Collaborative public management: new strategies for local governments. Washington, D.C.: Georgetown University Press.

Agranoff, R. (2006). Inside Collaborative Networks: Ten Lessons for Public Managers. Public Administration Review, 66 (S1), 56-65.

Brealey, R. A., Cooper, I. A., & Habib, M. A. (1997). Investment appraisal in the public sector. Oxford Review of Economic Policy, 13(4), 12-28.

Derthick, M. (1972). New Town In-Town. Washington, DC.: The Urban Institute.

Hogwood, B.W. and Gunn, L.A. (1984). Policy analysis for the Real World. Oxford: Oxford University Press.

Mattessich, P., Murray-Close, M., & Monsey, B. (2001). Wilder Collaboration Factors Inventory. St. Paul, MN: Wilder Research.

Van Meter, D. S., & Van Horn, Carl E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society, 6(4), 445-487.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31