ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีน โดยใช้รูปแบบ Storyline Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์, รูปแบบการสอนแบบสตอรีไลน์, ทักษะการสื่อสารบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสตรอรีไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากจากห้องเรียน จำนวน 1 ห้อง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีน รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 2 เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทักษะการสื่อสารภาษาจีน ก่อน และหลังเรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบสตรอรีไลน์ โดยใช้การทดสอบค่าวิกฤตที (t-test) แบบ Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้รูปแบบ Storyline Model ในภาพรวมนักเรียนมีความก้าวหน้าในการสื่อสารภาษาจีน แสดงว่าผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสรุปว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสอนแบบสตรอรีไลน์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้
References
กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สําหรับชั้นประถมศึกษาปีที 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สําราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กล่อมจันทร์ จันทรศิริ. (2556). เว็บช่วยสอนแบบ Storyline เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนไทยในโรงเรียนนานาชาติระดับ Middle school (Grade 8) (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรีาชมงคลธัญบุรี.
กันทิมา ธนะไพรินทร์. (2556). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสอนแบบเรื่องการเขียนสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธัญญารัตน์ มะลาศรี และ Wei Jingru. (2560). การจัดเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(3), 79-87.
บงกช วิบูลย์รัตนกิจ. (2556). บทเรียนแอนิเมชั่นโดยใช้การสอนแบบ Storyline บนคอมพิวเตอร์แบบพกพา เรื่องพระพุทธศาสนาสำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
เบญจา จันทร์ศรี. (2556). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์เพื่อสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผสุรัตน์ อภิชัย. (2556). การพัฒนาทักษะการเรียงความเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสอนแบบสตอรีไลด์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วลัย พานิช. (2544). เอกสารเผยแพร่แนวทาง Storyline Approach กับการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลัย พานิช. (2545). การสอนสตอรี่ไลน์เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: รัตติกร การพิมพ์ จำกัด.
วิษา เขียงกระโทก. (2556). การศึกษาความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการสอนแบบ Storyline ร่วมกับเทคนิค CIRC (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Bülent, Dös. (2015).Creating Online Storylines for Increasing the Knowledge Retention. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 195, 1051-1056.
Semra, D. (2012). The effect of storyline method on students’ achievements in 5thgrade of science and technology courses. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 46, 5026 – 5029.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว