แนวทางการบริหารจัดการแบดมินตันสู่การเป็นแบดมินตันอาชีพในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภิชัย ธีระรัตน์สกุล มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, แบดมินตัน, อาชีพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแบดมินตันไปสู่การเป็นแบดมินตันอาชีพในประเทศไทย ใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทำการศึกษาค้นคว้าการวิจัยเอกสารโดยเป็นการรวบรวมทั้งข้อมูลระดับปฐมภูมิและระดับทุติยภูมิ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านแบดมินตัน

          ผลการศึกษาพบว่า ด้านภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรมทางการบริหารของผู้นำ และการมีวิสัยทัศน์และการนำองค์กร ด้านระบบ มีระบบการสนับสนุนทางการเงิน (ภาครัฐและภาคธุรกิจ) และระบบการสร้างมูลค่าเพิ่มให้บุคลากรทางการกีฬา ในด้านการจัดการทุนมนุษย์ มีการจัดการและพัฒนาด้านทุนมนุษย์ (ผู้ฝึกสอน นักกีฬา กรรมการ และ ผู้จัดการทีม) และการจัดการวิทยาศาสตร์การกีฬาและระบบการศึกษา ด้านนโยบายของภาครัฐ มีนโยบายและการส่งเสริมแบดมินตันอาชีพ และการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและผู้สนับสนุนในการส่งเสริมกีฬาอาชีพ และด้านความยั่งยืนของการบริหารจัดการ มีความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรทางเศรษฐกิจ และความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรทางด้านสังคม

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2556-2559. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562,จากhttps://mots.go.th/download/pdf/nationaldevelopment planno5 _55_59.pdf

จุฑา ติงศภัทิย์. (2552). การศึกษาตัวบ่งชี้การพัฒนาการกีฬาของไทย: การพัฒนาการกีฬาเพื่ออาชีพ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2555). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. นนทบุรี: ตีรณสาร.

ทวีทรัพย์ เขยผักแว่น. (2555). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาฟุตซอลอาชีพในประเทศไทย (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). ปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2560). แผนยุทธศาสตร์กีฬาแบดมินตัน (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Benaroch, M.,Jeffery, M., Kauffman, R. J., & Shah, S. (2007). Option-Based Risk Management: A Field Study of Sequential Information Technology Investment Decisions. Journal of Management Information Systems, 24(2), 103-140.

Claes, E., Heim, C., Vanreusel, B., Vandermeerschen, H., & Scheerder, J. (218). Managing the Mix of Sport and Social Capital: A Study of Local Networks in the Belgian Homeless Football Cup. Journal of Global Sport Management, 5(3), 1-23.

Edmondson, A. C., Casciaro, T. & Jang, S. (2019) Cross-Silo Leadership. Harvard Business Review, 97(3),130–139.

Edwards, M. B. (2015). The role of sport in community capacity building: An examination of sport for development research and practice. Sport management review, 18(1), 6-19.

Elmose-OSterlund, K., & Iversen, E. B. (2020). Do public subsidies and facility coverage matter for voluntary sports clubs?. Sport Management Review, 23(2), 315-329.

Fahlen,J., Stenling,C. (2019). (Re)conceptualizing institutional change in sport management contexts: the unintended consequences of sport organizations’everyday organizational life. European Sport Management Quarterly, 19(3), 265-285.

Kaplanidou, K., Giannoulakis, C., Odio, M., Chalip, L. (2019). Types of human capital as a legacy from Olympic Games hosting. Journal of Global Sport Management, 1-19.

Malchrowicz-Mosko, E., Botikova, Z., & Poczta, J. (2019). Because We Don’t Want to Run in Smog”: Problems with the Sustainable Management of Sport Event Tourism in Protected Areas (A Case Study of National Parks in Poland and Slovakia). Sustainability, 11(2), 325

Naidoo, S., Hewitt, M., & Bussin, M. (2019). A leadership model validation: Dimensions influential to innovation. South African Journal of Business Management, 50(1),11.

Piggin, J., Souza, D. L.D., Furtado, S., Milanez, M., Cunha, G., Louzada, B. H., Graeff, B., & Tlili, H. (2019). Do the Olympic Games promote dietary health for spectators? An interdisciplinary study of health promotion through sport. European Sport Management Quarterly, 19(4), 481-501.

Ross, W. J., Leopkey, B., & Mercado, H. U. (2019). Governance of Olympic environmental Stakeholders. Journal of Global Sport Management, 4(4), 331-350.

Schulenkorf, N. (2012). Sustainable Community Development through Sport and Events: A Conceptual Framework for Sport-for-Development Projects. Sport Management Review, 15(1), 1-12.

Svensson, P. G., Mahoney, T. Q., & Hambrick, M. E. (2020). What does innovation mean to nonprofit practitioners? International insights from development and peace-building nonprofits. Nonprofit and Voluntary Sector Quarterly, 49(2), 380-398

Thongrawd, C., Bootpo, W., Thipha, S., & Jermsittiparsert, K. (2019). Exploring the nexus of Green information technology capital, environmental corporate social responsibility, Environmental performance and the business competitiveness of Thai sports industry Firms. Journal of Human Sport and Exercise.14(5), 2127-2141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31