การศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอาง ทางอินเทอร์เน็ต

ผู้แต่ง

  • อุมา ลาภทวีสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • รุ่งระวี วีระเวสส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ, ผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีก, เครื่องสำอาง, อินเทอร์เน็ต

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอาง                   ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีประชากรเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และยังประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 4,526 ราย และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และยังประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 370 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม หลังจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ผ่านค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการคำนวนการถดถอยเชิงพหุ เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ นอกจากนั้นยังใช้การพิจารณา ANOVA t-test F-test เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างด้านประชากรศาสตร์ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ

               ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยด้านปัจจัยการผลิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ปัจจัยด้านอุปสงค์ของตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ปัจจัยด้านบริบทของการแข่งขัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ปัจจัยด้านกิจกรรมของภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 และปัจจัยด้านเหตุสุดวิสัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70  ความสำเร็จของผู้ประกอบการ มีค่าเฉลี่ยของเท่ากับ 3.75 แปลผลได้เท่ากับระดับมาก ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ ต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ พบว่าสมการทางคณิตศาสตร์ในการศึกษาครั้งนี้ สามารถทำนายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้เท่ากับร้อยละ 30.7 ถึงร้อยละ 36.1  

References

จรินทร์ อาสารทรงธรรม. (2543). การบริหารการค้าปลีกในยุค 2000. วารสารนักบริหาร, 20(1), 47-53.

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และสุนี เลิศแสวงกิจ. (2538). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์.

รติวัลย์ วัฒนสิน. (2555). การส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่: มุมมองของผู้บริโภคและผู้บริหาร. วารสารวิจัย มสด (มหาวิทยาลับราชภัฏสวนดุสิต), 8(2), 153-173.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). E-Commerce ปี 63 คาดมูลค่าตลาดชะลอเหลือโต 8-10% สภาวะ New normal กระตุ้นการแข่งขันที่ยากและรุนแรงขึ้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3112). ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2563, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/z3112.aspx

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). เผยผลสำรวจ สพธอ. MSMES โอกาสรุ่งสู่อีคอมเมิร์ซ. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2563, จาก https://ismed.or.th/SPR211062.php

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (มุมมองด้านการบริหาร). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Hasty, R. & Reardon, J. (1997). Retail Management. New York: The McGraw-Hill Companies.

Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Levy, M. & Weitz, B. A. (2009). Retailing management (7th ed.). London: McGraw-Hill.

Thai Publica. (2563). ค้าปลีกไทยปีนี้โคม่าโต 2.8% คาดปีหน้า “4 ความหวัง 4 ความกังวล”. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2563, จาก https://thaipublica.org/2019/12/thai-retailers-association-gdp-63/

Stanton, W.J., Etzel, M.J. and Walker, B.J. (1994). Fundamentals of marketing. New York : McGraw-Hill.

Porter, M.E. (1990). The competitive advantage of Nations. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-20