ประสิทธิผลของสถานพยาบาลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมแปลงเพศ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • โสภา ยอดคีรีย์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, สถานพยาบาล, ศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศ

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานพยาบาลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในสถานประกอบการธุรกิจศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรสำหรับการศึกษา โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power ซึ่งได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ จำนวน 360 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

                ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลของสถานพยาบาลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย ได้แก่ ด้านการยอมรับของผู้รับบริการ ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ และด้านการอยู่รอดขององค์กร โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน  การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ภาครัฐควรมีนโยบายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศระดับโลก เพื่อนำรายได้จำนวนมากเข้าประเทศและนโยบายเรื่อง การรองรับเรื่องเพศสถานะทางกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ที่ทำการแปลงเพศแล้ว และสถานพยาบาลหรือผู้บริหารสถานประกอบการ ควรสร้างการยอมรับที่โดดเด่นในต้านต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก

References

กาญจน์วจี ธนโชติรุ่งสาทิส. (2557). ประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทย: ศึกษากรณีเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

กนกนันท์ ศรีคชา และวริยา ล้ำเลิศ. (2558). การรับรองสถานะทางกฎหมายศึกษา กรณีการใช้คำนำหน้านามของบุคคลที่แปลงเพศ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 4(1), 9-21.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2558). มานุษยวิทยากับการศึกษาพฤติกรรมข้ามเพศและรักเพศเดียวกัน. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563, จาก https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/articles/4

ผู้จัดการออนไลน์ 360. (2562). คนไทยแห่พึ่งศัลยกรรมทำสวย ติด TOP 8 ของโลก มูลค่าตลาดทะลุ 5.5 หมื่นล้านบาท. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2563, จาก https://ibusiness.co/detail/9620000123207

ผู้จัดการออนไลน์. (2557). หลัก 5 ข้อเลือกหมอศัลยกรรมความงาม แพทยสภาดันไทยเป็นคอสเมติกฮับสู้เกาหลี. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563,จาก https://mgronline.com/specialscoop/detail/ 9570000116135

ยุทธนา สุวรรณประดิษฐ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพของรักร่วมเพศชายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ: วิเคราะห์จากปัญหาของสังคมไทย (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลินน ซอ เหมียว, Sariyamon Tiraphat และเนตร หงษ์ไกรเลิศ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการฝากครรภ์คุณภาพของกลุ่มแรงงานข้ามชาติพม่าในโรงพยาบาลไทย: จังหวัดตากและสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 14(3), 45-57.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน. (2558). ไทยกับความเป็น Surgical hub of Asia. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=1020&filename=index

ศุภศิว์ สุวรรณเกษร. (2560). การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมเพื่อออกแบบนโยบายที่เหมาะสม สำหรับการจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารปาริชาต, 30(3), 96-107.

สุจิตรา พิทักษ์. (2558). ผลของการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านใหม่หนองหอย อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 5(2), 128-136.

เสาวลักษณ์ มนูญญา. (2560). ผลการจัดบริการพยาบาลผ่าตัดตามแนวคิดลีนต่อระยะเวลาการรอคอยและความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 72-81

Blackwood, E. (1985). Breaking the Mirror: The Construction of Lesbianism and the Anthropological Discourse on Homosexuality. Journal of Homosexuality, 11(3/4), 1-17.

Bland, L. & Doan, L. (eds.) (1994). Sexology Uncensored. Chicago. The University of Chicago Press.

Chuwiruch, W., Jhundra-indra, p. and Boonlua, S. (2559). กลยุทธ์ความเป็นเลิศทางการบริการกับผลการดำเนินงาน ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. BU Academic Review, 15(2), 144-160.

Faul, F. et al. (2007). G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods, 39(2), 175-91.

Gibson, J. H., John, M. I., & James, H. D. (1982). Organizations: Behavior Structure and Processes. 4th ed. Austin, TX: Business Publications.

International Society of Aesthetic Plastic Surgery. (2014). ISAPS International Survey on Aesthetic/Cosmetic Procedures Performed in 2014. Retrieved November 30, 2016, from http://www.isaps.org/medical-professionals/isaps-global-statistics/

Krafft-Ebing, R. V. (1886). Psychopathia Sexualis. Stuttgart: Veblag Von Ferdinand Enke.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbein,

M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. 90-95. New York: Wiley & Son.

Zamuto, R. F. (1982). Assessing Organizational Effectiveness. New York: University of New York: Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-07