บทบาททางการเมืองของสถาบันชาวไร่อ้อยไทย พ.ศ. 2527-2563

ผู้แต่ง

  • ทิพยวรรณ ผลประโยชน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สถาบันชาวไร่อ้อยไทย, สถาบันทางการเมือง, ผู้นำชาวไร่อ้อย

บทคัดย่อ

               บทความนี้มุ่งศึกษาการก่อตัวของสถาบันชาวไร่อ้อยไทยภายใต้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบทบาท ทางการเมืองของสถาบันชาวไร่อ้อยไทยกับการเมืองไทย พ.ศ. 2527-2563 และศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางการเมืองของสถาบันชาวไร่อ้อยไทยกับพัฒนาการทางการเมืองใน-ช่วงเวลา พ.ศ. 2527-2563 เป็นวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย พบว่า อ้อยเป็นพืชที่มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดเปลี่ยนสำคัญในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ที่รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ถึงอย่างไรปัญหาและอุปสรรคของอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทย  ก็ยังไม่หมดไป และสถาบันชาวไร่อ้อยไทยก็เกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชาวไร่อ้อยเอง แต่สถาบันชาวไร่อ้อยไทยก็ถูกมองว่าเป็นสถาบันทางการเมืองในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงสถาบันแห่งนี้ก็ยังไม่ใช่สถาบันทางการเมืองที่สมบูรณ์ ดังนั้น การไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมือง  ที่สมบูรณ์ได้นั้น ต้องอาศัยผู้นำชาวไร่อ้อยที่เข้าถึงแก่นแท้ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และเข้าใจบริบททางการเมืองของประเทศไทยอย่างแท้จริง อันนำมาซึ่งการสร้างสรรค์และพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้ทันยุคทันสมัยก้าวไกลกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

References

นิตยสารผู้ส่งออก. (2545). น้ำตาลเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกในช่วง 50 ปี. นิตยสารผู้ส่งออก, 16(363), 62-74.

พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527. (2527). ราชกิจจานุเบกษา, 101(103), 1-40.

พฤธิสาน ชุมพล. (2531). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2527). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์.

วิทยา นภาศิริกุลกิจ และสุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2530). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). กลุ่มผลประโยชน์ในการเมืองไทย. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุวิดา ธรรมมณีวงศ์. (2544). การเคลื่อนไหวทางสังคม. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 23(2), 32-54.

อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2521). การวิเคราะห์ระบบการเมือง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัมมาร สยามวาลา. (2536). อนาคตอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย. กรุงเทพมฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

Clark, P.B. & Wilson, J. O. (1961). Incentive system: A theory of organization. Administrative Science Quarterly, 6, 129-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28