การพัฒนาต้นแบบการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุในฐานวิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • พีรณัฎฐ์ ยาทิพย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ศิริภรณ์ ศิลปวานิช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปัทมา พยุงวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • กนกอร อรุณทวีรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การวางแผนการลงทุน, นวัตกรรมทางการเงิน, ฐานวิถีชีวิตใหม่, ผู้สูงอายุ, สังคมสูงวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุในฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้แบบสอบถามซึ่งมีระดับความเชื่อมั่น 0.89 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลจากการสัมภาษณ์สรุปได้ว่า องค์กรควรส่งเสริมให้พนักงานวางแผนการลงทุน มีแนวคิดด้านนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ขวนขวายหาความรู้ให้ทันต่อสถานการณ์โลก ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์การเงิน ปัจจัยการสร้างโอกาสการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ คือ ไม่สร้างภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น กระบวนการขององค์กรเพื่อพัฒนาสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ ให้ข้อมูลในวงกว้าง และเชื่อมความสัมพันธ์ต่างวัย ประเภทของนวัตกรรมสำหรับการลงทุนสัมพันธ์กับปัจจัยการสร้างโอกาสการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุและกระบวนการขององค์กรเพื่อพัฒนาสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด ปัจจัยการสร้างโอกาสการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุสัมพันธ์กับกระบวนการขององค์กรเพื่อพัฒนาสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด และทดสอบสมมติฐานโดยวิเคราะห์ตัวแปรเชิงประจักษ์คงเหลือจำนวนปัจจัยที่สอดคล้อง ได้แก่ (1) ให้ข้อมูลในวงกว้าง (2) แบ่งประเภทตามทักษะ ประสบการณ์ ฐานะและความพร้อม (3) มีสวัสดิการที่ดี (4) ออกแบบโครงการมาสนับสนุนให้ตรงจุด (5) ใช้มาตรการรัฐสนับสนุน (6) เชื่อมความสัมพันธ์ต่างวัย (7) เพิ่มตำแหน่งงานใหม่ (8) พิจารณาอัตราจ้างและสวัสดิการให้พร้อม และ (9) พัฒนาทักษะเพิ่มเติม

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ ฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2564). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จิตระวี ทองเถา. (2564). นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ ในยุค

การระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1),

-224.

เฉก ธนะสิริ. (2560). อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้ไม่ได้ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพ ฯ: บริษัท เฮลท์ รีเลชั่นส์ จำกัด

ชาติชาย มีสุขโข. (2561). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนและการวางแผนการลงทุน. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.cmsk-academy.com/article/280/investment planning-basic

ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25-35.

ธาดา ราชกิจ. (2562). องค์กรควรเตรียมรับมืออย่างไรเมื่อไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก th.hrnote.asia/tips/190613-aging-society-working/

ดวงพร เพชรคง. (2560). เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จากwww.parliament.go.th/ ewtadmin/ewt/elaw_parcy/download/article/article_20181012153553.pdf

พิมลวรรณ เดชานุเบกษา. (2561). นวัตกรรม FinTech กับการบริการทางการเงิน. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม, 12(2), 185-190.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก https://web.facebook.com/?_rdc=1&_rdr

วิชนี คุปตะวาทิน แมน วาสนาพงษ์ และพรทิพย์ ขุนดี. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(พิเศษ), 444-450.

ศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์. (2560). บทบาทของผู้สูงอายุต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(17), 176-191.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2562). โครงการบริษัทเกษียณสุข. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.happypvd.com/happy-pvd-company

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 121-133.

สุภมาส อังศุโชติ และกาญจนี กังวานพรศิริ. (2558). แนวทางและมาตรการส่งเสริมการออมของผู้สูงอายุ

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 7(14), 146-158.

อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร. (2560). ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http:/www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641444

Arbuckle, J. L. (2011). AMOS 20.0 users guide. Crawfordville, FL.: Amos Development Corporation, 55-61.

Borzykowski, B. (2021). The ultimate retirement planning guide for 2021. Retrieved January 3, 2021. from https://www.cnbc.com/guide/retirement-planning/

Hoffmann, A. O. I. & Plotkina, D. (2020). Why and when does financial information affect retirement planning intentions and which consumers are more likely to act on them?. Journal of Business Research, 117(September), 411-431.

Teresa, C., Montserrat, H. & Gabriela, T. (2021). A Model for Personal Financial Planning Towards Retirement. Journal of Business Economics and Management, 22(2), 482-502.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09