ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ปัญญารัตน์ ปานทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะทางสังคม, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, วัฒนธรรมองค์การ, การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การและการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ และ 3) อิทธิพลของคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หัวหน้าส่วนการบริหารองค์การส่วนจังหวัด ในจังหวัดอุดรธานี 9 คน หนองบัวลำภู 9 คน หนองคาย 8 คน เลย 9 คน และบึงกาฬ 7 คน รวมจำนวน 42 คน การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างคือ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การและการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) อิทธิพลของคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) อิทธิพลของคุณลักษณะทางสังคม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

References

ธัชชัย ชูกลิ่น. (2558). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์การบริหารการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นฤชล คุ้มกลาง. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การลักษณะเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต1: กรณีศึกษาโรงเรียนในเขตเทศบาล นครนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24-31.

เรียมใจ คุณสมบัติ (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา อำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สามารถ อัยกร, จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ชาติชัย อุดมกิจมงคล และวัชรพงษ์ อินทรวงศ์. (2561). อิทธิพลของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลักธรรมาภิบาลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ: กรอบแนวคิดการวิจัย. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 9-17.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการท้องถิ่น พ.ศ. 2557-2560 ในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สุชานุช พันธนียะ และฮาซันอักริม ดงนะเด็ง. (2563). คุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ในทัศนะของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 18(3), 17-35.

Denison, D. R. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Graham, J. Amos, B., & Plumptre, T. (2003). Principles for Good Governance in the 21st Century. Policy Brief No 15, Canada: Institute on Governance.

Hinkle, D. E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Mohamad, M. H., Daud, Z. & Yahya, K. K. (2014). Impact On Employees’ Good Governance Characteristics, The Role of Transformational Leadership as Determinant Factor. Retrieved April, 10, 2017, from http://www.ijset.net/journal/258.pdf

Purnamasari, A. V. (2009). Transformational Leadership Impact on Teacher’s Organizational Commitment. Retrieved December 11, 2015, from https://jurnal.unej.ac.id/index.php /JP2/article/download/851/665/

Saner, M. & Wilson, J. (2003). Stewardship, Good Governance and Ethics. Retrieved November 26, 2014, from https://www.files.ethz.ch/isn/103095/policybrief19.pdf

Savareikiene, D. (2013). Transformational Leadership Roles in The Development of Motivation in Aspects of Good Governance. Ekonomika ir vadyba: aktualijos ir perspektyvos, 3(31),152–158.

UN-ESCAP, (N.D.). UN-ESCAP: What is Good Governance. Retrieved November 26, 2014, from www.gdrc.org/u-gov/escap-governance.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07