พฤติกรรมการเข้าใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • นุชจรี เกตุสุวรรณ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การเข้าใช้บริการห้องสมุด, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์โดยใช้ t – test สำหรับตัวแปรอิสระมี 2 กลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) สำหรับตัวแปรอิสระที่มีตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเข้าใช้ห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักศึกษาที่เรียนสังกัดคณะต่างกันมีพฤติกรรมการเข้าใช้บริการห้องสมุด ด้านการสืบค้นหนังสือ และด้านระยะเวลาในการใช้บริการห้องสมุดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถช่วยให้ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานำข้อมูลที่ได้ค้นพบไปใช้ในการปรับปรุงการให้บริการของห้องสมุด ให้ตรงความต้องการของนักศึกษา

References

กัลยา สร้อยสิงห์. (2548). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้คุณภาพการบริการในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

กุลธิดา ท้วมสุข, จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ทิพย์วัลย์ ตุลยะสุข และกันยารัตน์ ดัดพันธ์. (2548). บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารห้องสมุด, 49(4), 21-23.

ชัยเลิศ ปริสุทธกุล. (2544). สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2552). ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองแห่งชาติ โดยทุนสนับสนุนการวิจัยของสถาบันคลังสมองของชาติ.

บุญกรม ดงบังสถาน. (2553). โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ประคอง บุญทน. (2545). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาห้องสมุดโรงเรียน. อุบลราชธานี: คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ประภาพร รูปสวยดี. (2550).พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

พรรณิภา น้อยตา. (2543). ความพึงพอใจและความต้องการใช้บริการห้องสมุดเคลื่อนที่โรงเรียน เชียงคานของพระภิกษุสามเณรโรงเรียนมหาธาตุวิทยาอำเภอเชียงคานจังหวัดเลย (การค้นคว้าอิสระปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มณีรัตน์ พรหมสุวรรณศิริ. (2538). การใช้ห้องสมุดและทักษะการเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปัตตานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ลมุล รัตตากร. (2545). การใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สุธนีย์ ขจัดภัย. (2548). ความต้องการการให้บริการของห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหงในทัศนะของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. (2547). รายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี พ.ศ. 2547. สุพรรณบุรี: ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16 (3), 297-334.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-24