ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ข้าราชการทหารบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก ประชากรของการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการทหาร ในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก ประกอบด้วย ข้าราชการทหาร ในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร จำนวน 201 นาย และข้าราชการชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร จำนวน 119 นาย มีจำนวนทั้งหมด 320 นาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ สมการถดถอยด้วยเทคนิค Stepwise โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ พบว่า ลักษณะข้อมูลทั่วไปของประชากร พบว่า ข้าราชการทหาร ในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก จำนวนทั้งสิ้น 320 นาย พบว่า กลุ่มประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีจำนวน 197 นาย มีอายุเฉลี่ยประมาณอายุ 31 – 40 ปี จำนวน 180 นาย มีสถานภาพสมรส จำนวน 223 นาย เป็นนายทหารสัญญาบัตร จำนวน 201 นาย มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 159 นาย มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 11 – 15 ปี จำนวน 123 นาย และเป็นผู้มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท จำนวน 78 นาย ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ในสังกัดกรมกำลังพลทหารบก พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง
References
ณัฐวรท ผ่องสุวรรณ์. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการส่วนกลางของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2555). การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์.(2560). หลักการบริหารทรัพยกรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Beer, M., & Cannon, M.D. (2004). Promise and peril in implementing pay-for-performance. Human Resource Management, 43(1), 3-21.
Druskat, V. U., & Wolff, S. B. (2001). Building the emotional intelligence of groups. Harvard Business Review, 79 (3), 81-90.
Evan, J. R., & Lindsay, W. M. (1999). The Management and Control of Quality. St. Paul, MN: West Publishing Co.
Florin, P., Mitchell, R., Stevenson, J., & Klein, I. (2000). Predicting intermediate outcomes for prevention coalitions: A developmental perspective. Evaluation and Program Planning, 23 (3), 341-346.
Hackman, J.R., & Oldham, G.R. (1980). Work redesign. Reading, MA: Addison-Wesley.
Hellriegel, D. & Slocum, J.W. (1982). Management. California : Addison Wesley.
Homans, G. C. (1950). The Human Group. NY: Harcourt Brace.
Kast, F. E., & Rosenzweing, J. E. (1985). Organization and Management: A Systems and Contingency Approach. (4th ed.). NY: McGraw-Hill.
Porter, L. W., Steers, R. M., Mowday, R. T., & Boulian, P. V. (1974). Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59(5), 603-609.
Robbins, S. P. (1991). Organizational Behavior (5th ed.). New Jersey: prentice Hall.
Schermerhorn, J. R., Hunt, J. C., & Osborn, R. N. (1991). Managing Organizational Behavior. NY: John Wiley & Sons.
Sheldon, M. (1971). an empirical analysis of organizational identification. Academy of Management Journal, 14 (2), 149 - 226.
Sheldon, M. E. (1971). Investments and involvements as mechanisms producing commitment to the organization. Administrative Science Quarterly, 16(2), 142-150.
Tushman, M., & O'Reilly, C. A. (1997). Winning through innovation: A practical guide to leading organizational change and renewal, Boston, Harvard Business School Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว