บทบาทของนักการเมืองกับหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุพิทักษ์ โตเพ็ง วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการอยุธยา
  • ฉัณทิพย์ จำเดิมเผด็จศึก มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทของนักการเมือง, หลักธรรมาภิบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

สถานการณ์ปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ นับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับอื่น ๆ ต่อมา โดยที่มีเจตนารมณ์ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย กำหนดให้คณะผู้บริหารองค์กรท้องถิ่นหรือผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยมีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวเอาไว้คราวละ 4 ปี ทำให้บทบาทของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งจากส่วนกลางลดความสำคัญลง และนักการเมืองเข้ามาแทนที่ในการบริหารองค์กรท้องถิ่น และโดยผลนั้นได้ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับนักการเมือง เกิดผลเสียต่อองค์กรท้องถิ่นและประชาชน จากเดิมที่มีปัญหาจากข้าราชการท้องถิ่นหรือปัญหาเชิงโครงสร้างต่าง ๆอยู่แล้ว เช่น การใช้อำนาจหน้าที่ทุจริต มีผลประโยชน์ทับซ้อน การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ เป็นตัน บทความวิชาการนี้เป็นการอธิบายหลักธรรมาภิบาลกับบทบาทของนักการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางในการใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า มาปรับใช้กับนักการเมืองที่บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน้าที่ สร้างกลไกสำหรับการตรวจสอบความโปร่งใสของกระบวนการทำงาน ลดปัญหากับข้าราชการส่วนท้องถิ่นและช่วยกันประสานประโยชน์ร่วมกันทำให้องค์กรท้องถิ่นมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เมื่อระบบการบริหารจัดการดีจะช่วยให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญตามเป้าหมายของแผนพัฒนา

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2563). คู่มือการเลือกตั้งท้องถิ่นสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์สำนักงานประเทศไทย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). สรุปข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

โฆสิทธิ์ แสงกุศลส่งและคณะ. (2556). ข้อเสนอการเสริมสร้างจริยธรรมของนักการเมืองเพื่อการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ณัฐพล ใจจริง. (ม.ป.ป.) นักการเมืองท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=นักการเมืองท้องถิ่น

ถวิลวดี บุรีกุล. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชน 2489 - 2549 ในการเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2546). ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จากhttp://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ธรรมาภิบาล%3A_หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่

ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา, ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และพรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2562). การสร้างฐานอำนาจของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(ฉบับพิเศษ), 143-256.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2532). ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (ม.ป.ป.). การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การเมืองท้องถิ่น: การเมืองของใครโดยใครเพื่อใคร. กรุงเทพมหานคร: จตุพรดีไซด์. 2554.

ปราชญา กล้าผจัญ. (2549). คุณธรรมจริยธรรมผู้นำรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1-16. (2546, 9 ตุลาคม).

พีรยา มหากิตติคุณ. (2561). ความเป็นผู้นาของนายอานันท์ ปันยารชุน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 9-30.

มันโซะ กาหลง. (2551). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี. การศึกษาอิสระ รป.ม.(การปกครองท้องถิ่น). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มรุต วันทนากร และดรุณี หมั่นสมัคร. (ม.ป.ป.). ประวัติและพัฒนาการของเทศบาล. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=เทศบาล

ราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th/

รัฐพล ฤทธิธรรมและโพชฌ์ จันทร์โพธิ์. (2564). ภาวะผู้นำและมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสมัยใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 20-34.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24-31. (2542, 10 สิงหาคม).

ลิขิต ธีรเวคิน. (2543). การเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2555). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการรักษาวินัยพรรคการเมืองและการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชน: รายงานการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ศรีพัชรา สิทธิกำจร แก้วพิจิตร. (2551). การใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันพระปกเกล้า. (2547). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

V-reform. (2555). ประเด็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก http://v-reform.org/wp-content/uploads/2012/08/reviewการกระจายอำนาจ.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-25