การศึกษาความพึงพอใจในสวัสดิการ และความผูกพันในองค์การของข้าราชการ กรมกิจการพลเรือนทหารบก

ผู้แต่ง

  • วราพร ปิ่นกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นัทนิชา หาสุนทรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สวัสดิการ, ความผูกพัน, กรมกิจการพลเรือนทหารบก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับจาก กรมกิจการพลเรือนทหารบกโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็น ต่อความผูกพันในองค์การที่ได้รับจากกรมกิจการพลเรือนทหารบก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้าราชการในสังกัด กรมกิจการพลเรือนทหารบก จานวน 329 นาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารบก จำนวน 178 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจในสวัสดิการของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารบก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อทดสอบโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะเวลาในการรับราชการส่งผลต่อความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขอนามัย และด้านความปลอดภัยและ ความมั่นคง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2. ความผูกพันในองค์การของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารบก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อทดสอบโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับชั้นยศส่งผลต่อความผูกพัน ในองค์กรด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามเพื่อประโยชน์ขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กรมกิจการพลเรือนทหารบก. (2562). ประวัติความเป็นมา กรมกิจการพลเรือนทหารบก. ค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2562, จาก http://doca.rta.mi.th/history.php

จิระพร จันทภาโส. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ชานิศญา ศากยวงศ์. (2554). การศึกษาความพึงพอใจต่อสวัสดิการของเจ้าหน้าที่สำนักทางหลวงที่ 8 (นครราชสีมา) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ฐานิฎา เจริญเลิศวิวัฒน์. (2558). ความพึงพอใจในค่าตอบแทน สวัสดิการและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มะนิสา คงเพชรศักดิ์. (2557). ความพึงพอใจต่อสวัสดิการของพนักงานบริษัทคริสเตียนดิออร์ (ประเทศไทย) จำกัด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมชัย จิตสุชน, จิราภรณ์ แผลงประพันธ์, ยศ วัชระคุปต์ และ นันทพร เมธาคุณวุฒิ. (2554). สู่ระบบสวัสดิการสังคมก้าวหน้าภายในปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สลักจิต ภู่ประการ. (2555). ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จี พี ไซเบอร์พรินท์.

Herzberg, F., Mousner, B., & Synderman, B. B. (1986). Motivation to Work. Michigan: A Bell&Howell Information Company.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27