การนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี กิระหัส หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุดาวรรณ สมใจ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การบริหาร, เทศบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติกับปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ และพนักงานงานจ้าง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ T – test และ F - Test ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ด้านหลักความคุ้มค่า รองลงมา ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ในเรื่อง สถานภาพ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จตุพร พิริยวิรุตม์. (2555). การนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลในอำเภอ

บางเลน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.

พิสมัย คูศรีพิทักษ์. (2553). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

มยุรี อุยะเอก. (2558). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โยษิตา นิมิตโภคานันท์. (2555). การนำนโยบายการกระจายอำนาจทางการจัดบริการสาธารณะไปปฏิบัติ

ในเขตเทศบาลตำบล อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24-31.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2552). การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ : การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โฟรเพช.

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2549). การบริหารจัดการสมรรถนะในองค์การ. วารสารดำรงราชานุภาพ,6(20), 20-50.

ศิริวิมล ภักดีปัญญา. (2553). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล

ในเขตพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2552). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนอง วรอุไร. (2556). จริยธรรมสำหรับผู้บริหารและธรรมาภิบาล. สมุทรปราการ: ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์.

สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ และเผ่าพันธุ์ ชอบน้ำตาล. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เจริญรัฐการพิมพ์.

สมพร วัชรภูษิต. (2553). พัฒนากระบวนการจัดการความรู้การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อนิรุทธ์ แดงหยง. (2554). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Best, J. W. (1981). Research in education (3rded.). Englewood cliffs, New Jersey : Prentice. Hall.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-26