แนวทางการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ภารดี วรเกริกกุลชัย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุดาวรรณ สมใจ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วราพร ดำรงค์กูลสมบัติ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารองค์กร, หลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การสร้างหลักธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในระบบการบริหารราชการไทยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลักธรรมาภิบาลจะเป็นปัจจัยเสริมให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีลักษณะเปิด ประชาชน มีเสรีภาพ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และ2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 15 ตำบล ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบน่าจะเป็น จำนวน 135 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระดับการบริหารองค์กร ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านหลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ 2) แนวทาง คือ ผู้บริหารต้องเคร่งครัดการใช้ ธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน ในการบริหาร

References

กิตติพงศ์ อุรพีพัฒศ.(2556). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์

แอนด์ มีเดีย.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2550). พุทธวิธีการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:

มหาจุหลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระมหาสมพงษ์ ชนุตตโม (อ่อนสุข). (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหา

รส่วนตำบล ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชญาสินี จิตติพิชญานันท์. (2559). ประสิทธิภาพการบริหารงานคลังท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหิดล

ไพฑูรย์ สุขผลานันท์ (2558). การศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มานา อิ่มอุดม. (2558). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542, 30 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 26-27.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุภัทรมาศ จริยเวชชวัฒนา. (2557). การบริหารจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาลกรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านฉาง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรัส ราชกุลชัย. (2547). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Boutros-Ghali, Boutros. (2000). “An Agenda for Democratization” in Global Democracy. Barry Holden (ed.). New York: Routledage.

Diamond, Peter. A. (1998). Optimal Income Taxation: An Example with a U-Shaped Pattern of Optimal Marginal Tax Rates. The American Economic Review, 88(1), 83-95.

Robert A, Dahl. (2000). On Democracy. New Haven and London Yale University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-26