กลยุทธ์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา แสงกฤษเพ็ชร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เฉลิมพร เย็นเยือก มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, พฤติกรรมการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน 2) ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน และ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการปฏิบัติงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน รวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ข้าราชการทหารชั้นประทวน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิผลการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาสูงสุด ด้านระดับชั้นยศ ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และด้านสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) คุณภาพชีวิตการทำงาน ประกอบด้วย ด้านการทำงาน ด้านส่วนตัว ด้านสังคม และพฤติกรรมการปฏิบัติงาน มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมการปฏิบัติงานมีผล ต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กฤษณะ นันทะวิชัย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติติงานของข้าราชการกรมการทหารสื่อสาร (Unpublished Master's thesis). มหาวิทยาลัยรังสิต.

กนกวรรณ ศรีวิรัตน์. (2558). ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำวิจัยของอาจารย์ใหม่ กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กรมกำลังพลทหารบก. (2554). ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการ.

ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564, จาก https://dop.rta.mi.th/0401.2.3/images/pranukngan-54.pdf

ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2558). ตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของทีมงานที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนคร,5(2), 46-57.

ธเนศ บุตรอ่ำ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท สยาม ฮิตาชิ

เอลลิเวเตอร์ จำกัด. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 53-64.

นิ่มนวน ทองแสน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอาง ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิขาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(2), 121-132.

สกุลรัตน์ ไพบูลย์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จากัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ (Unpublished Master's thesis). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุภาภรณ์ วงศ์กรเชาวลิต. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของจิตอาสาในองค์การ

ไม่แสวง หาผลกำไร กรณีศึกษา: มูลนิธิแสงธรรมส่องหล้า กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงาน ก.พ. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญ. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/node/98

อภิชญา ศักดิ์ศรีพยัคฆ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการทำงานของพนักงานชาวไทย

ในอุตสาหกรรมการบริการที่ทำงานในประเทศสิงค์โปร์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อรวรา กล้าหาญ. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน

การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Gibson, J. L. et al. (1997). Organizations: Behavior, Structure, Processes. New York: McGraw-Hill.

Steer, R. M. (1977). Organizational effectiveness: A behavioral view. Santa Monica, CA: Goodyear.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27