ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • จิตปราณี อึ้งวิฑูรสถิตย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ประชาชน, การให้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ตามความคาดหวังของประชาชน ได้แก่ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ T - test, F - Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบระหว่างเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ กับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการ ในด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2558). กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เทศบาลตำบลบางใหญ่. (2563). สภาพทั่วไป: ข้อมูลประชากร. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.bangyaimunicipality.go.th/condition.php

ธนาศิริ ชะระอ่ำ. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่างชาติที่มีต่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

นภสร ตรีรัตน์พิจารณ์. (2558). ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการ ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรี (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นัทธมน ขำปากพลี. (2556). ศึกษาความคาดหวังของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์.

ยิ่งลักษณ์ ทิพย์สิงห์. (2555). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการจัดบริการสาธารณะของ องค์การบริหารส่วนตำบลมาย อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รุ่งรัตน์ พิเชฏฐไพบูลย์. (2559). ความคาดหวังของประชาชนผู้มาใช้บริการต่อระบบการให้บริการของเจ้าหน้า ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 2 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิลาวัลย์ พุตติ. (2552). ความคาดหวังของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักงานจัดหางานจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

วุฒิสาร ตันไชย. (2551). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.vcharkarn.com./varticle/35389/1

ไวยพนจ์ ตรีครุฑพันธ์. (2551). ความคาดหวังของข้าราชการครูที่มีต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนในโรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

Best, J. W. (1981). Research in Education. (3rd ed.). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Harris, K. E. (2010). Customer service: A Practical Approach. (5th ed.). N.J.: Prentice Hall.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31